ผลของสารสกัดรางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) ต่อการทำงานของไซโตโครมพี 450 พีไกลโคโปรตีน และการขับออกของมาลาไธออนใน everted intestine
Main Article Content
บทคัดย่อ
รางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) สมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณในการต้านพิษจากสารพิษ และสารกำจัดแมลงแต่ความเข้าใจในกลไกการลดพิษยังมีจำกัด การวิจัยนี้ศึกษาผลของรางจืดสกัดน้ำ (TBA) ต่อการทำงานของไซโตโครมพี 450 (CYP) พีไกลโคโปรตีน (P-gp) และการขับออกของมาลาไธออน (Malathion) ในหนูแรทที่ป้อน TBA ความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 2.0 g/kg bw เป็นเวลา 28 วัน แล้วนำตับเพื่อมาวัดการทำงานของ CYP และส่วนของลำไส้เล็ก (ileum) เพื่อเตรียมเป็น everted intestine สำหรับวัดการทำงานของ P-gp และการขับออกของมาลาไธออน ผลวิจัยพบว่า TBA (0.5 - 2.0 g/kg bw) มีผลยับยั้งการทำงานของ CYP1A1, CYP2B และ CYP3A4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดตามความเข้นข้นที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของ CYP1A2 และมีผลต่อการทำงานของ P-gp เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่พบความสัมพันธ์เชิงลบเมื่อความเข้มข้นของ TBA เพิ่มขึ้น การทำงานของ P-gp ใน everted intestine ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และลดการขับออกของมาลาไธออนเป็น 0.78- 0.54 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่ากลไกการลดพิษของรางจืดอาใจเกี่ยวกับการยับยั้งการทำงานของ CYPs ที่เกี่ยวข้องใน กระบวนการ bioactivation ของของสารพิษในร่างกาย และกระตุ้นการขับออกของสารผ่านการชักนำการทำงานของ P-gp แต่การชักนำดังกล่าวอาจไม่เกี่ยวข้องกับการลดความเป็นพิษของมาลาไธออน ในส่วนของกลไกของรางจืดต่อการลดความเป็นพิษจากสารต่าง ๆ ในลักษณะ in vivo เป็นเรื่องสำคัญและควรจะต้องมีการศึกษาต่อไปในอนาคต