ความรวดเร็ว น่าเชื่อถือ และ ความถูกต้องของวิธีตรวจวัดการปนเปื้อนสารเมทาบอไลต์ของ ไพรีทรอยด์ในน้ำนมสังเคราะห์ โดยเครื่องแก็สโครมาโตกราฟี-แมสสเปกโตรเมตรี

Main Article Content

ปริสา สนธิ
ไพบูลย์ ทุมรินทร์
พักรบ แก้วบัญดิษฐ
อลิษา วงษ์มาน
มาริษา ดวงแก้ว

บทคัดย่อ

ความเร็ว ความน่าเชื่อถือ และ ความถูกต้องของการตรวจวัดสารเมทาบอไลต์ของสารกำจัดแมลง ไพรีทรอยด์ (ซิส/ทรานส์ กรดเพอร์เมทรินิก) ที่ปนเปื้อนในน้ำนมสังเคราะห์ด้วยเครื่องแก๊สโครมาโตกราฟี- แมสสเปกโตรเมตรี ในการศึกษานี้ใช้ตัวอย่างน้ำนม 50 ไมโครลิตร ที่เติมสารมาตรฐานลงไป ดูดใส่ในหลอดขนาด 1.5 มิลลิลิตร แล้วนำไปปั่นแห้ง ด้วยเครื่อง miVac ที่อุณหภูมิ 40°C จนแห้ง จากนั้นนำตัวอย่างมาเติมด้วย ทูลูอีน 50 ไมโครลิตร ที่มีสารมาตรฐานภายในที่ระดับความเข้มข้น 0.1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และเติมสารเปลี่ยนรูป MTBSTFA 50 ไมโครลิตร นำไปเขย่าด้วยเครื่องโซนิเคท 10 นาที และนำไปอบที่อุณหภูมิ 80 °C เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นนำตัวอย่างมาวิเคราะห์ การศึกษาความถูกต้องของวิธีประกอบด้วย ความถูกต้องในการเลือก สัมประสิทธิ์การกําหนด (R2) ค่าต่ำสุดที่ตรวจวัดได้ (LOD) ค่าต่ำสุดที่วัดปริมาณได้ (LOQ) ความถูกต้อง และความเที่ยงตรงของวิธี ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์เชิงเส้นในช่วงความเข้มข้น 0.05-10.00 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีค่า R2 ≥0.995 และสามารถแยกสารที่สนใจออกจากสารรบกวนได้ดีมาก ค่า LOD และ LOQ คือ 0.01 และ 0.05 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ  ค่าความถูกต้อง และความเที่ยงตรง พบว่า มีค่าร้อยละของการคืนกลับและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์อยู่ที่ 83.85-104.54 และ 1.50-5.82 สำหรับ ซิส-กรดเพอร์เมทรินิก ตามลำดับ และ 87.28-105.19 และ 2.44-8.35 สำหรับ ทรานส์-กรดเพอร์เมทริ-นิก ตามลำดับ ดังนั้น วิธีการที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์ตรวจสารปนเปื่อนในน้ำนมแม่ที่บริจาคก่อนที่จะให้ทารกแรกเกิดได้

Article Details

How to Cite
สนธิ ป. ., ทุมรินทร์ ไ., แก้วบัญดิษฐ พ. ., วงษ์มาน อ. ., & ดวงแก้ว ม. . (2022). ความรวดเร็ว น่าเชื่อถือ และ ความถูกต้องของวิธีตรวจวัดการปนเปื้อนสารเมทาบอไลต์ของ ไพรีทรอยด์ในน้ำนมสังเคราะห์ โดยเครื่องแก็สโครมาโตกราฟี-แมสสเปกโตรเมตรี. วารสารพิษวิทยาไทย, 37(1), 16–26. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJToxicol/article/view/246993
บท
บทความวิจัย