คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

วารสารพิษวิทยาไทยเผยแพร่บทความวิชาการประเภทบทความวิจัยและบทความปริทัศน์ที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานทางด้านพิษวิทยา ทั้งนี้ครอบคลุมถึงงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พิษวิทยาคลินิก พิษวิทยาทางเภสัชวิทยา พิษวิทยาทางสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการสัมผัสสารพิษ ความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและยาแผนโบราณ พิษวิทยาอาหารและโภชนาการ การประเมินความปลอดภัยของอาหารและส่วนประกอบของอาหารใหม่ ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ วัสดุนาโน การระบุถึงอันตรายและการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ ผลกระทบที่เป็นอันตรายของพิษที่เกิดจากสารเคมีต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ และพิษวิทยาระดับโมเลกุล เป็นต้น

ผลงานวิจัยและบทความปริทัศน์ต้นฉบับทุกเรื่อง  จะได้รับการประเมินเบื้องต้นโดยหัวหน้ากองบรรณาธิการ หรือรองบรรณาธิการ เพื่อให้มั่นใจว่าบทความดังกล่าวเป็นบทความต้นฉบับ มีความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์และเกี่ยวข้องและครอบคลุมในสาขาด้านพิษวิทยาตามที่วารสารกำหนด รวมทั้งรูปแบบและอักษรปฏิบัติตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง เมื่อบทความวิชาการนั้นผ่านการพิจารณาขั้นแรก ลำดับต่อมาจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ดำเนินการพิจารณาแบบปกปิดสองทาง ซึ่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ รวมทั้งข้อพิจารณาอื่นๆ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จะถูกส่งกลับมาให้บรรณาธิการ จากนั้นบรรณาธิการจะทำการส่งข้อมูลที่ได้รับดังกล่าวกลับไปยังผู้รับผิดชอบบทความดังกล่าว และบรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจขั้นสุดท้าย ในการตอบรับโดยไม่มีการแก้ไขใดๆ หรือ ตอบรับโดยมีการแก้ไข หรือ ปฏิเสธการตีพิมพ์ลงวารสาร ทั้งนี้ กระบวนการพิจารณาดังกล่าวใช้เวลาดำเนินการประมาณไม่เกิน 90 วัน

ผู้สนใจสามารถส่งต้นฉบับ พร้อมจดหมายนำส่ง ซึ่งระบุชื่อผู้ที่ติดต่อกับกองบรรณาธิการหน่วยงานพร้อมที่อยู่ โทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์ ผู้นิพนธ์จะต้องนำส่งไฟล์ต้นฉบับของบทความวิชาการ จดหมายนำ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบออนไลน์ของวารสารพิษวิทยาไทยเท่านั้น (https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJToxicol) บทความใดที่ผ่านการพิจารณาตอบรับการตีพิมพ์ผู้ที่มีชื่อในผลงานทุกคนต้องเซ็นชื่อยินยอมในเอกสารลิขสิทธิ์วารสารพิษวิทยาไทย และรับทราบการส่งผลงานเพื่อลงพิมพ์ในวารสารพิษวิทยาไทย

 

การเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย หรือ บทความปริทัศน์

1. ต้นฉบับเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ แต่ให้มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวเรื่องไม่เกิน 15 หน้า สำหรับบทความวิจัย และไม่เกิน 20 หน้า สำหรับบทความปริทัศน์ซึ่งรวมเนื้อหาทั้งตาราง รูป และเอกสารอ้างอิง บทคัดย่อให้พิมพ์ใน 1 ย่อหน้ากำหนดความยาวไม่เกิน 300 คำ สำหรับบทคัดย่อภาษาไทย และ ไม่เกิน 250 คำ สำหรับบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ส่วนคำสำคัญกำหนดจำนวนไม่เกิน 6 คำ

2. ต้นฉบับพิมพ์บนกระดาษขนาด A4 พิมพ์ห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้วทั้ง 4 ด้าน พิมพ์หน้าเดียว (ไม่ต้องจัดหน้าทำเป็นคอลัมน์) ไฟล์ที่ส่งอยู่ในรูปแบบไฟล์เอกสาร Microsoft Word เท่านั้น  (สามารถดูลำดับเนื้อเรื่องที่ถูกต้องจากวารสารเล่มล่าสุดที่เผยแพร่ผ่านทางเวปไซต์ของวารสารพิษวิทยาไทย, https://litci-thaijo.org/index.php/ThaiJToxicol)

3. รูปแบบและขนาดอักษรที่ใช้ในเรื่องกำหนดไว้ดังนี้ ภาษาไทย – Angsana New 16 ระยะห่าง 1 บรรทัด, ภาษาอังกฤษ – Times New Roman 12 ระยะห่าง 1.5 บรรทัด ส่วนชื่อเรื่องและหัวข้อเรื่องพิมพ์ตัวหนา 

4. ชื่อเรื่อง ชื่อและที่อยู่ของผู้นิพนธ์ต้นฉบับ ให้อยู่ในหน้าแรก ส่วนบทคัดย่อและคำสำคัญ ให้อยู่หน้าที่สองของบทความ เท่านั้น สำหรับหัวข้ออื่นๆ ได้แก่ บทนำ วัสดุ สารเคมีและวิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย วิจารณ์ผลการวิจัย สรุป กิตติกรรมประกาศ ผลประโยชน์ทับซ้อน และเอกสารอ้างอิง ให้แสดงไว้ในหน้าถัดไป ตามลำดับของบทความ

5. ตาราง รูป และคำบรรยาย ให้พิมพ์แยกหน้าและเรียงลำดับไว้ท้ายเรื่องต่อจากเอกสารอ้างอิง สำหรับชนิดของรูป กำหนดให้ใช้ไฟล์ TIFF หรือ JPG: สีดำ/สีเทา/สีขาว/หรือ สีอื่นๆ  : ความละเอียดของภาพ (resolution of figure) อย่างน้อย 300 dpi

6. การอ้างอิงเอกสารใช้ตัวเลข ยกขึ้นเหนืออักษรข้อความ (superscript) โดยไม่ต้องใส่วงเล็บ เรียงลำดับตามการอ้างในเรื่อง ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทุกเรื่องจากตัวจริงหรือสำเนาตัวจริง รูปแบบการเขียนหากเป็นเรื่องที่มีผู้นิพนธ์มากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ใส่เฉพาะ 3 ชื่อแรกและตามด้วย “และคณะ” ใช้ชื่อย่อของวารสารตามที่กำหนดใน List of Journals Indexed in Index Medicus. ใส่เลขหน้าแรก และหน้าสุดท้ายของเอกสาร โดยไม่ต้องเขียนเลขหน้าที่ซ้ำกัน เช่น 125-9, 181-95.

 

ตัวอย่างและรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง

Journal article

- Cromwell L, Lindemann MD, Randolph JH, et al. Soybean meal from roundup ready or conventional soybeans in diets for growing-finishing swine. J Anim Sci 2002; 80: 708–15.

- Brake DG, Evenson DP. A generational study of glyphosate-tolerant soybeans on mouse fetal, postnatal, pubertal and adult testicular development. Food Chem Toxicol 2004; 42: 29–36.

Book

- Olson KR. Poisoning & drug overdose. 5th ed. New York: McGraw-Hill, 2006: 52-8.

- Iverson C, Flanagin A, Fontanarosa PB, et al. American medical association manual of style. 9th ed. Baltimore (MD): Williams & Wilkins, 1998. 660 p.

- Huang YS, Ziboh VA, eds. Gamma-linolenic acid: recent advances in biotechnology and clinical applications. Champaign (IL): AOCS Press, 2001. 259 p.

- Joint FAO/IAEA/WHO. High-dose irradiation: wholesomeness of food irradiated with doses above 10 kGy. WHO Tech Rep Ser. Geneva. 1999; 890: i-197.

Chapter in the book

- Bradley C. Measuring quality of life in diabetes. In: Marshall SM, Home PD, Rizza RA, eds. The Diabetes Annual 10. Amsterdam: Elsevier Science, 1996: 207-24.

Conference proceedings

- Harley NH. Comparing radon daughter dosimetric and risk models. In: Gammage RB, Kaye SV, eds. Indoor air and human health. Proceedings of the 7th Life Sciences Symposium; 1984 Oct 29-31; Knoxville (TN). Chelsea (MI): Lewis; 1985, 69-78.

Website

- Morse SS. Factors in the emergence of infectious diseases. Emerg Infect Dis 1995; 1: 7-15. Available at http://www.cdc.gov/ncidod/ EID/eid.htm, accessed on Jun 5, 1996.

- FAO/WHO. Evaluation of allergenicity of genetically modified foods. Report of a Joint   FAO/WHO Expert Consultation on Allergenicity of Foods Derived from Biotechnology, 2001. Available at http://www.who.int/foodsafety/publications/ biotech/en/ec_jan2001.pdf, accessed on Aug 10, 2005.

 

ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่
ผศ.ดร.มลฤดี สุขประสารทรัพย์
บรรณาธิการวารสารพิษวิทยาไทย
หน่วยพิษวิทยาอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
25/25 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 อ.พุทธมณฑล ต.ศาลายา จ.นครปฐม 73170
โทรศัพท์ +662-800-2380 ext. 328, 119 โทรสาร+662-889-3673
อีเมล: monruedee.suk@mahidol.edu; thaijtox2020@gmail.com

 

บทความที่ได้รับการตอบรับจะถูกเผยแพร่ทางเวปไซต์ของวารสารพิษวิทยาไทย

(https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJToxicol)