จริยธรรมสำหรับการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์

- หากการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่างานได้ดำเนินการตามหลักจริยธรรมของสมาคมการแพทย์โลก (ปฏิญญาเฮลซิงกิ) สำหรับการทดลองที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ การวิจัยจะต้องได้รับการอนุมัติด้านจริยธรรมจากคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยประจำสถาบัน (IRB) ในประเทศหรือคณะกรรมการจริยธรรมอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยในมนุษย์ทั้งหมด โดยสอดคล้องกับแนวปฏิบัติระดับชาติและนานาชาติ
- ผู้นิพนธ์ต้องแน่ใจว่าต้นฉบับระบุขั้นตอนทั้งหมดเป็นไปตามกฎหมายและแนวปฏิบัติของสถาบันที่เกี่ยวข้อง และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสถาบันที่เกี่ยวข้อง ข้อความนี้ควรระบุวันที่และหมายเลขอ้างอิงของการอนุมัติด้านจริยธรรมที่ได้รับ ต้นฉบับต้องมีข้อความยอมรับว่าได้รับความยินยอมจากอาสาสมัครก่อนทำการทดลอง สิ่งสำคัญคือต้องรักษาสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอยู่เสมอ
- ผู้นิพนธ์ต้องทราบว่าวารสารมีนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับข้อมูลที่รวมอยู่ในต้นฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลใดๆ ที่ได้มาจากอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่ได้มาจากแหล่งที่ผิดจรรยาบรรณ รวมถึงจากนักโทษที่ถูกประหารชีวิตหรือนักโทษทางความคิด จะไม่ได้รับการยอมรับ นโยบายนี้สอดคล้องกับคำแนะนำของ Global Rights Compliance on Mitigating Human Rights Risks in Transplantation Medicine

 

จริยธรรมสำหรับการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสัตว์

- การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดโดยองค์กรระดับชาติและนานาชาติ เช่น Association for Assessment and Accreditation of Laboratory Animal Care International (AAALAC), และ/หรือ หลักจริยธรรมและแนวปฏิบัติสำหรับการใช้สัตว์เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์, สถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) หรือ Thai Institutional Animal Care and Use Committee (Thai IACUC) เพื่อให้มั่นใจในสวัสดิภาพสัตว์และลดความทุกข์ทรมานของพวกมัน งานวิจัยทั้งหมดจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรม และผู้นิพนธ์จะต้องระบุชื่อและหมายเลขอนุมัติของคณะกรรมการจริยธรรมในต้นฉบับ ซึ่งควรระบุไว้ในส่วนวัสดุและวิธีการ พร้อมด้วยแนวปฏิบัติระดับชาติและนานาชาติที่ปฏิบัติตาม นอกจากนี้ เพศของสัตว์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยและอิทธิพลหรือความสัมพันธ์ใดๆ ที่เพศอาจมีต่อผลการศึกษาจะต้องได้รับการเปิดเผย

 -------------------------------------------------------------------------------------------------

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์

1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรือกำลังถูกส่งเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์ในวารสารใด หรือจะไม่ถูกส่งเพื่อพิจารณาไปยังวารสารใด ขณะที่รอพิจารณาจากวารสารพิษวิทยาไทย
2. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานบทความวิจัยตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ทั้งวิธีการทดลอง ผลการทดลอง สำหรับบทความปริทัศน์นั้น ผู้วิจัยต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
3. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยและส่งบทความวิจัยต้นฉบับตามรูปแบบที่กำหนดโดยวารสารพิษวิทยาไทย ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานหรือคำพูดเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตนเอง โดยการคัดลอกบทความวิจัยทุกรูปแบบ ถือว่าผิดจริยธรรมในการทำวิจัย
4. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้มีส่วนในการดำเนินการวิจัย หรือ มีส่วนร่วมในการเขียนบทความ
5. หากผู้นิพนธ์ดำเนินการวิจัยโดยใช้สารเคมี วิธีการทดลอง หรือเครื่องมือ ที่อันตรายหรือมีข้อบ่งชี้พิเศษ ผู้นิพนธ์ต้องระบุให้ชัดเจนในเนื้อหาส่วนของวัสดุ อุปกรณ์และสารเคมีของบทความ
6. ผู้นิพนธ์ที่ดำเนินงานวิจัยโดยใช้สัตว์ทดลองหรือทำการศึกษาในมนุษย์ จะต้องแนบเอกสารรับรองจริยธรรมมาด้วย
7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุน/ผู้สนับสนุนทุนในการทำวิจัยนี้ในบทความวิจัยให้ชัดเจน เช่น ชื่อและรหัสของทุนวิจัย
8. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนในบทความวิจัยให้ชัดเจน (ถ้ามี)

 


 

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ

1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่ประเมินคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารพิษวิทยาไทย โดยไม่มีอคติใดๆ มาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติ เพศ ความเชื่อ สังกัด เป็นต้น
2. บรรณาธิการต้องคัดเลือกบทความที่ผ่านกระบวนการประเมินพิจารณาบทความจากผู้ประเมินบทความอย่างน้อย 2 ท่านแล้วเท่านั้น
3. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ และบริษัทหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับบทความวิจัยหรือบทความปริทัศน์นั้น แต่หากมีต้องมอบหมายให้ทีมบรรณาธิการท่านอื่นดำเนินการแทน
4. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลจากงานวิจัยที่ส่งมาพิจารณาเพื่อตีพิมพ์แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ที่ปรึกษาบรรณาธิการ และโรงพิมพ์
5. บรรณาธิการและทีมบรรณาธิการต้องไม่ใช้ข้อมูลจากงานวิจัยที่ส่งมาพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ไปใช้งานอื่นใดสำหรับตัวเอง โดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้นิพนธ์
6. บรรณาธิการทำหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบบทความที่ส่งมาในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างอย่างระมัดระวัง เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
7. หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินบทความและติดต่อผู้นิพนธ์หลักเพื่อขอคำชี้แจง สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น

 


 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

1. ผู้ประเมินบทความผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะประเมินบทความได้ ควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบทันทีและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ เพื่อบรรณาธิการจะเชิญผู้ประเมินบทความท่านอ่านต่อไป
2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (confidentiality) ทั้งนี้รวมถึงผู้ประเมินบทความที่ปฏิเสธการประเมินบทความด้วย
3. ผู้ประเมินบทความต้องไม่นำข้อมูลจากบทความงานวิจัยที่ส่งมาพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ไปใช้งานอื่นใดสำหรับตัวเอง โดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้นิพนธ์ ทั้งนี้รวมถึงผู้ประเมินบทความที่ปฏิเสธการประเมินบทความด้วย
4. หากผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบทันที และปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
5. ผู้ประเมินบทความต้องสามารถระบุประเด็นข้อมูลที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึงในบทความ นอกจากนี้ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ หากมีส่วนใดของบทความที่กำลังประเมินมีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับบทความอื่นๆ