การศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาเบื้องต้นของพ่อพันธุ์แพะที่ตรวจไม่พบปรสิตในเลือด

Main Article Content

มนตรี แสงลาภเจริญกิจ
กฤษฎา ขำพูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาของพ่อพันธุ์แพะ ณ ฟาร์มแห่งหนึ่งในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โดยทำการเก็บตัวอย่างเลือดแพะจำนวน 10 ตัวอย่างด้วยวิธีการเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือด jugular vein บรรจุลงในหลอด EDTA ส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์ตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการสำหรับสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ผลจากการตรวจหาพยาธิในเม็ดเลือดไม่พบพยาธิในเลือด ผลเลือดส่วนใหญ่มีค่าปกติ ยกเว้นจำนวน WBC สูงกว่าปกติ พบภาวะการมีเม็ดเลือดขาวในเลือดสูงกว่าปกติในตัวอย่างแพะ 5 ตัว ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบแบบเรื้อรังและมี 1 ตัวที่พบภาวะอักเสบแบบเฉียบพลัน ในขณะเดียวกันผลตรวจพบภาวะโลหิตจางในแพะตัวอย่าง 5 ตัว บ่งชี้ว่าแพะมีโรคแฝงอยู่โดยไม่แสดงอาการซึ่งอาจทำให้สัตว์เป็นตัวกักโรคที่สำคัญ ทำให้สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังสัตว์ตัวอื่น ๆ ได้ หรือจำนวนเชื้อมีอยู่น้อยจนตรวจไม่พบด้วยวิธีฟิล์มเลือด ดังนั้นในการตรวจหาพยาธิในเลือดทุกครั้งควรจะต้องมีการตรวจทางชีวเคมีและ PCR reaction ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัยขนาดสั้น

References

กนกรัตน์ ศรีกิจเกษมวัฒน์ และศันสนีย์ มุ่งอุ่นกลาง. (2559). รายงานการวิจัย ความชุกของพยาธิ (Babesia bigemina) ในเลือดแพะในเขตพื้นที่มีนบุรี. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

กนกวรรณ สิงห์อาษา, สุชวัล พรสุขอารมณ์, จเร อุดมยิ่ง, ยุวดี คงภิรมย์ชื่น, ธนกฤต จันทร์คง, ดลฤทัย ศรีทะ, ปองพล ทองเสงี่ยม, และณัฐกมล ช่างศรี. (2563). รายงานการวิจัย การศึกษาหาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้ออนาพลาสมาและบาบีเซียในแพะเนื้อและโคเนื้อในพื้นที่เขตพรมแดนไทย-กัมพูชา. 15(1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

เฉลียว ศาลากิจ. (2548). โลหิตวิทยาทางสัตวแพทย์. นครปฐม: โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรม.

ไพทูล แก้วหอม, และวรรณา ฐิตะสาร. (2560). ความชุกของเชื้อ Theileria spp. ของแพะในอําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. สัตวแพทย์มหานครสาร. 12(2) หน้า 57-66.

สถาพร จิตตปาลพงศ์, อาคม สังข์วรานนท์, นงนุช ภิญโญภานุวัฒน์, วิษณุวัฒน์ ฉิมนอย, เกียรติชัย โรจนมงคล, นิรชรา โรจนแพทย์, โซอิชิ มารูยามา. (ม.ป.ป.). ความชุกของโรค Anaplasmosis และ Eperythrozoonosis ของแพะในจังหวัดสตูล. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43: สาขาสัตวแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์. 1-4 ก.พ. 2548. หน้า 1-11.

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). โรคแพะ - แกะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Junior, O. L. F., Sampaio, P. H., Machado, R. Z., André, M. R., Marques, L. C., & Cadioli, F. A. (2016). Evaluation of clinical signs, parasitemia, hematologic and biochemical changes in cattle experimentally infected with Trypanosoma vivax. Rev Bras Parasitol Vet, 25(1), 69-81.

Thanakrit Chankong, Donruthai Srita, Pongphon Tongsangiam, Sirilak Meesuwan and Kanoknaphat Klinpakdee. (2022).The study of prevalence and factors affecting Anaplasma maginale infection in domestic goats in Chonburi province, Thailand. Vet Integr Sci, 20(1), 85 – 93.