Development of Phellinus rimosus Extract Capsules

Authors

  • กัลยา แสงฉวี
  • ชลดา จัดประกอบ
  • วันเฉลิม สีหบุตร
  • ลลิตา บุญศิลป์
  • เมธิน ผดุงกิจ
  • พรพรรณ เหล่าวชิระสุวรรณ
  • Chheng Chantha

Keywords:

Phellinus rimosus, Formulation, Capsule

Abstract

เห็ดหิ้งเกือกม้า หรือ Phellinus rimosus พบมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่กําลังได้รับความสนใจในการนํามาพัฒนาเป็นยาและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ซึ่งได้มีการใช้ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมทางการแพทย์แผนไทยมาใช้เป็นส่วนผสมในตํารับยารักษา โรคมะเร็ง เริม อาการปวดหู และอาการผื่นคันปวดแสบปวดร้อน ดังนั้นการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเป็นตํารับสารสกัดเห็ดหิ้งเกือกม้าแคปซูลและควบคุมคุณภาพด้วยวิธีสังเกตลักษณะทาง กายภาพ ความแปรปรวนของน้ำหนัก การแตกตัวของแคปซูล และทดสอบความคงตัวของตํารับ ผลการทดลองพบว่าการสังเกตลักษณะทางกายภาพพบว่า ผงเห็ดหิ้งเกือกม้าเป็นผงละเอียดสีเหลืองอ่อน ไม่จับตัวกันเป็นก่อน มีกลิ่นเฉพาะของผงเห็ดหิ้งเกือกม้า แคปซูลใสเป็นมันเงา ส่วน body กับ cap สวมกันแน่น ไม่มีรอยบุบหรือรอยแตกของเม็ดยา ความแปรปรวนของน้ำหนักสาร สกัดเห็ดหิ้งเกือกม้าแคปซูล มีค่าเท่ากับ 399.10±0.64 มิลลิกรัม และการแตกตัวของสารสกัดเห็ด หิ้งเกือกม้าแคปซูล พบว่าทั้ง 6 แคปซูล แตกตัวหมดภายใน 30 นาที ซึ่งผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน USP 36 NF 31 (2013) จากนั้นนํามาทดสอบความคงตัวทางกายภาพของตํารับ โดยใช้สภาวะเร่ง ผ่าน freeze thaw cycle และทำการควบคุมคุณภาพตํารับสารสกัดเห็ดหิ้งเกือกม้าแคปซูลอีกครั้ง พบว่าการควบคุมคุณภาพผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน USP 36 NF 31 (2013) และการทดสอบทาง สถิติพบว่า ความแปรปรวนของน้ำหนักและเวลาในการแตกตัวของสารสกัดเห็ดหิ้งเกือกม้าแคปซูล ก่อนและหลังผ่านสภาวะเร่ว ไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ดังนั้นตํารับสารสกัดเห็ดหิ้งเกือกม้า แคปซูลจึงมีคุณภาพและความคงตัวดีผ่านเกณฑ์มาตรฐาน USP 36 NF 31 (2013

Downloads

Download data is not yet available.

Published

2021-12-30

How to Cite

แสงฉวี ก. ., จัดประกอบ ช. ., สีหบุตร ว. ., บุญศิลป์ ล. ., ผดุงกิจ เ. ., เหล่าวชิระสุวรรณ พ. ., & Chantha, C. (2021). Development of Phellinus rimosus Extract Capsules. Koch Cha Sarn Journal of Science, 43(2), 26–37. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/kochasarn/article/view/253413

Issue

Section

Research Articles