Publication Ethics

วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น ยึดมั่นในจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) และคำนึงถึงคุณภาพของผลงานที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น จึงได้มีการกำหนดแนวทาง (Guidelines) สำหรับการดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการ (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ให้เป็นไปอย่างจริยธรรมการตีพิมพ์ ตามแนวทางต่อไปนี้

     1. บรรณาธิการ 

         เพื่อให้กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ เป็นไปตามหลักจริยธรรมการตีพิมพ์ ได้อย่างอิสระ และสามารถกลั่นกรองคุณภาพของบทความ ให้อยู่ในกรอบและขอบเขตของวารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น จึงขอชี้แจงแนวทางดำเนินการของทีมบรรณาธิการไว้ดังนี้

  • ตรวจสอบความสอดคล้องของบทความกับวารสาร
  • ควบคุมจรรยาบรรณของผู้นิพนธ์บทความ ด้วยการตรวจสอบการคัดลองวรรณกรรมของผู้อื่น (Plagiarisam) โดยใช้โปรแกรม CopyCatch ซึ่งให้บริการไว้ในระบบส่งบทความ หากพบการคัดลอกจะหยุดกระบวนการและแจ้งผล “Reject” ทันที
  • การควบคุมชั้นความลับ โดยทุกบทความจะถูกดำเนินการแบบ Double Blind ผู้นิพนธ์จะไม่เห็นรายชื่อผู้ประเมินบทความ และผู้ประเมินบทความจะไม่เห็นรายชื่อผู้นิพนธ์
  • บรรณาธิการจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์
  • บรรณาธิการต้องเลือกผู้ประเมินบทความให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตรงกับบทความนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด

     2. ผู้ประเมินบทความ

         ผู้ประเมินบทความของวารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น จะต้องยึดมั่นในบทบาทหน้าที่ ที่มุ่งเน้นด้านความแข้มแข็งทางวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง วารสารจึงมีการวางแนวทางสำหรับผู้ประเมินบทความไว้ดังนี้

  • การรักษาความลับของผู้นิพนธ์ โดยไม่เปิดเผยหรือส่งต่อข้อมูลในบทความที่รับไว้พิจารณาให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ประเมินบทความจะต้องตรวจสอบการมีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยอาจต้องตรวจสอบความเกี่ยวข้องด้วยตนเอง เช่น การมีส่วนร่วมในงานวิจัย การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเดียวกัน หรือมีเหตุผลอื่นที่จะทำให้ไม่สามารถประเมินบทความได้อย่างอิสระ ผู้ประเมินสามารถปฏิเสธการประเมินบทความได้ผ่านระบบ พร้อมระบุเหตะผลให้บรรณาธิการวารสารทราบ
  • ผู้ประเมินบทความ พิจารณาความสำคัญของเนื้อหา คุณภาพบทความ มีระเบียบและวิธีการทางวิจัยที่เข็มแข็งตามหลักวิชาการ ซึ่งมุ่งเน้นที่ความเข้มข้นของผลงาน ในกรณีที่ใช้ความคิดเห็นตามหลักวิชา จะต้องเป็นไปในลักษณะที่ไม่เป็นการก่อกวน (Harassment) ตามกฎ Anti-Harassment Policy ของวารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น
  • หากผู้ประเมินพบว่าบทความมีการคัดลอกวรรณกรรม (Plagiarism) ขึ้น ผู้ประเมินบทความสามารถ ปฏิเสธการตีพิมพ์ และแจ้งข้อมูลการคัดลอกให้บรรณาธิการทราบ

     3. ผู้นิพนธ์

         ผู้นิพนธ์บทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น ควรคำนึงถึงจริยธรรมการตีพิมพ์ เพื่อสร้างบทความวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชา มีคุณภาพ และสามารถนำไปใช้เป็นองค์ความรู้ที่ช่วยสร้างสรรค์สังคมอย่างแท้จริง โดยมีหลากหลายประเด็นที่ผู้ประพันธ์บทความควรตระหนักดังต่อไปนี้  

  • บทความที่ยื่นเข้าสู่ระบบเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่กับวารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น บทความจะต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์โดยวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการประเภทอื่น
  • ผู้นิพนธ์ไม่สามารถส่งบทความเดียวกันไปยังหลายวารสารพร้อมกันได้
  • บทความที่ส่งให้พิจารณาตีพิมพ์จะต้องไม่มีการคัดลอกวรรณกรรมผู้อื่น (Plagiarism) หรือการคัดลอกวรรณกรรมของตนเอง (Self-Plagiarism)
  • ตระหนักเรื่องการออกแบบการทดลองและการอภิปรายผลการทดลองอย่างรัดกุม (Rigorous) ไม่บิดเบือนผลการทดลอง ตกแต่งผลการทดลอง การแสดงผลการทดลองอันเป็นเท็จ โดยวารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น แนะนำให้เพิ่ม Supplementary Files หรือ ลิ้งค์ (Link) ผลการทดลองที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง สำหรับใช้ประกอบผลการพิจารณาโดยผู้ประเมินบทความ โดยกำหนดให้เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ตแบบสาธารณะ เช่น การใช้ระบบ Github เป็นต้น
  • ผู้นิพนธ์ควรคำถึงถึงการเป็น Authorship ของบทความ เช่น การกำหนด Main Author, Corresponding Author และรายชื่อผู้ร่วมวิจัยต้องมีส่วนร่วมในงานวิจัยและร่วมเขียนบทความดังกล่าวจริง มิเป็นเพียงการเพิ่มรายชื่อเพื่อนำไปใช้ประกอบเพื่อใช้ประโยชน์กับหน่วยงานต้นสังกัด หรือประกอบการใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับบทความ

         **หากพบ หรือมีการรายงานเรื่องการละเมิดข้อกำหนดที่เกี่ยวกับผู้ประพันธ์ข้างต้น และถูกตรวจสอบโดยทีมบรรณาธิการ แล้วมีมติให้ถอดบทความออกจากวารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น บทความถูกถอดออกโดยการติดข้อความลายน้ำกำกับบทความในบทความทุกหน้าด้วยข้อความ “Retracted”