พฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรกับการพัฒนาแนวทางลดการใช้สารเคมีในการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เยาวมาลย์ เขียวสอาด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สุพพัต เมืองศรีนุ่น
  • ปิยะวรรณ เนื่องมัจฉา

คำสำคัญ:

มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, ทุเรียน, สารเคมีกำจัดแมลง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรจำนวนมาก จึงมีโอกาสสัมผัสและได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางลดการใช้สารเคมีของเกษตรกรด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยใช้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรในอำเภอนบพิตำจำนวน 32 คน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ได้ปฏิบัติตนทุกครั้ง ก่อนการฉีดพ่นสารเคมี ขณะฉีดพ่นสารเคมี และหลังการฉีดพ่นสารเคมี และคัดเลือกเกษตรกรแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อสร้างแปลงตัวอย่างตามมาตรฐานคุณภาพทุเรียนเพื่อการส่งออก โดยแบ่งพื้นที่เก็บตัวอย่าง 2 โซน คือจุดเก็บตัวอย่างพื้นที่ปลูกทุเรียนซึ่งไม่ใช่สารเคมีและจุดเก็บตัวอย่างพื้นที่ปลูกทุเรียนซึ่งมีการใช้สารเคมี ผลการศึกษาปริมาณธาตุอาหารพืชในพื้นที่เก็บตัวอย่าง 2 โซน มีอินทรียวัตถุอยุ่ในระดับปานกลาง ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองอยู่ในระดับต่ำ สำหรับฟอสฟอรัสและซัลเฟอร์มีค่าต่ำสุดและสูงสุดห่างกันมากเนื่องจากพื้นที่ปลูกไม่เสมอทำให้การกระจายของปุ๋ยไม่ทั่วถึง สำหรับปริมาณสารเคมีตกค้างในดิน น้ำ และทุเรียนทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มออร์กาโนคลอรีน และกลุ่มไพรีทรอยด์ ด้วยเทคนิค GC-MS/MS ผลการศึกษาพบว่าไม่พบการตกค้างของสารเคมีกำจัดแมลงทั้ง 4 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีความรู้ในการใช้สารเคมี ดังนั้นการทำสวนทุเรียนตามมาตรการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรเป็นการสร้างความยั่งยืนทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค สิ่งแวดล้อมและการส่งออกไปยังต่างประเทศ

Downloads

References

Tantrakonnsab W, Tantrakoonsab N. 2018 Thai Export of Durian to China. In: Kubo K, Sakata S, editors. Thai export of durian to China. Impact of China’s increasing demand for agro produce on agricultural production in the Mekong region. BRC Research Report No. 21 Edited by.Bangkok Research Center, JETRO Bangkok. Bangkok; 2018. p. 1-25

กรมวิชาการเกษตร. การจัดการการผลิตทุเรียน. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงได้เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/01/การผลิตทุเรียน.pdf.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. ทุเรียนราชาแห่งผลไม้ไทยถูกใจคนต่างแดน. [อินเทอร์เน็ต]. 2563

[เข้าถึงได้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tpso.moc.go. th/sites/default/

files/thieriiyn_240863.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. สถานการณ์การตลาดและต้นทุนในการผลิตทุเรียน [อินเทอร์เน็ต]. 2563

[เข้าถึงได้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oae.go.th/view/1/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81/TH-TH

ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช. เอกสารประกอบการประชุมยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราชปี พ.ศ.2562-2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงได้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://saiyai.rmutsv.ac.th/images/admission/pdf/2172561.pdf

Mankeb P, Limunggura T, Ingo A, Chulilung P. Adoption of Good Agricultural Practices by Durian Farmers in Koh Samui District, Surat Thani Province, Thailand. Conference: Society for Social Management Systems (SSMS); 2013 December 2-4, Australia. 2013.

วนิดา เหรียญทอง, เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, จินดา ขลิบทอง. แนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกรในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8. วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561; ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานบัณฑิตศึกษา สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.

Guddanti N. Impact of Good Agricultural Practices (GAP) on Small Farm Development: Knowledge and Adoption levels of Farm Women of Rainfed Areas. Indian Research Journal of Extension Education 2015; 15(4):153-6.

ภัทรา ขายมาน, อิสริยา บุญญะศิริ, ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าสู่ระบบมาตรฐานปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี.การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่6. วันที่ 25 พฤศจิกายน 2559; ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานบัณฑิตศึกษา สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2559.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. มาตรฐานสินค้าเกษตร. [อินเทอร์เน็ต]. 2556

[เข้าถึงได้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_

food%20crop.pdf.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน). ทุเรียน Durian. [อินเทอร์เน็ต]. 2564

[เข้าถึงได้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/durian/controller/index.php

Schreinemachers P, Schad I, Tipraqsa P, Williams PM, Neef A, Riwthong S, Sangchan W, Grovermann C. Can public GAP standards reduce agricultural pesticide use? The case of fruit and vegetable farming in northern Thailand. Agriculture and Human Values 2012; 29(4):519-29.

สาคร ศรีมุข. 2563. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงได้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://library.senate.go.th/document/Ext6409/6409657_0002.PDF.

สุธาสินี อั้งสูงเนิน. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558;9(1): 50-63.

Amekawa Y. Reflections on the growing influence of good agricultural practices in the Global South. Journal of Agricultural and Environmental Ethics 2009;22:531–57.

กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงได้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.ldd.go.th/PMQA/2553/Manual/OSD-03.pdf

Mclean EO Soil pH and Lime Requirement. In: Page AL, editors. Methods of Soil Analysis: Part 2. Chemical and Microbiological Properties. 1st ed. Madison: American Society of Agronomy, Soil Science Society of America, 1982. p. 199-224.

Schofield RK, Taylor AW. The measurement of soil pH. Soil Sci. Soc. Am. Proc 1955;19:164–7.

Nelson DW, Sommer LE. Total Carbon, Organic Carbon and Organic Matter. In: Page AL, editors. Methods of Soil Analysis: Part 2. Chemical and Microbiological Properties. 1st ed. Madison: American Society of Agronomy, Soil Science Society of America, 1982. 595-579.

Bremner JM, Mulvaney CS. Nitrogen-Total. In: Page AL, editors. Methods of Soil Analysis: Part 2. Chemical and Microbiological Properties. 1st ed. Madison: American Society of Agronomy, Soil Science Society of America, 1982. 595-624.

Olsen SR, Sommers LE. Phosphorus. In: Page AL, editors. Methods of Soil Analysis: Part 2. Chemical and Microbiological Properties. 1st ed. Madison: American Society of Agronomy, Soil Science Society of America, 1982. 403-430.

Knudsen D, Peterson GA, Pratt P. Lithium, Sodium and Potassium. In: Page AL, editors. Methods of Soil Analysis: Part 2. Chemical and Microbiological Properties. 1st ed. Madison: American Society of Agronomy, Soil Science Society of America, 1982. 225-246.

Lanyon LE, Heald W.R. Magnesium, calcium, strontium and barium. In: Page AL, editors. Methods of Soil Analysis: Part 2. Chemical and Microbiological Properties. 1st ed. Madison: American Society of Agronomy, Soil Science Society of America, 1982. 247-262.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22

How to Cite

เขียวสอาด เ., เมืองศรีนุ่น ส. ., & เนื่องมัจฉา ป. (2024). พฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรกับการพัฒนาแนวทางลดการใช้สารเคมีในการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น, 46(2). สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/kochasarn/article/view/261195