คุณภาพน้ำดื่มทางกายภาพและจุลินทรีย์จากตู้กดน้ำดื่มของโรงเรียนในพื้นที่ตำบลบางทราย และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/kcsj.2024.3คำสำคัญ:
คุณภาพน้ำดื่ม, ตู้กดน้ำดื่มในโรงเรียน, Total coliform, Fecal coliform, Escherichia coliบทคัดย่อ
น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในด้านการอุปโภค บริโภค น้ำบริโภคต้องสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากเชื้อก่อโรคและสารพิษเจือปน น้ำดื่มในโรงเรียนและสถานศึกษาถือเป็นการบริการขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนที่สถาบันการศึกษาต้องจัดให้มีเพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่ม ประกอบด้วย 3 ด้าน คือด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มทางกายภาพและชีวภาพของ Total coliform, Fecal coliform และ Escherichia coli (E.coli) ในตู้กดน้ำดื่มทั้งหมด จำนวน 21 ตัวอย่างจากโรงเรียนในพื้นที่ตำบลบางทราย และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี โดยการเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจากตู้กดน้ำดื่มของโรงเรียนในพื้นที่ตำบลบางทราย จำนวน 7 ตู้ และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี จำนวน 14 ตู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาคุณภาพน้ำดื่มทางด้านกายภาพพบว่าน้ำใส ไม่มีกลิ่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 6.73 – 8.65 ค่าความขุ่นอยู่ในช่วง 0.2 – 1.6 NTU ค่าการนำไฟฟ้าอยู่ในช่วง 173.8 – 390 mg/L คุณภาพทางด้านชีวภาพพบการปนเปื้อนเชื้อกลุ่ม Total coliform < 1.1 – 26 MPN/100 mL Fecal coliform พบ < 1.1 MPN/100 mL และไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อ E. coli ในทุกตัวอย่าง อย่างไรก็ตามพบว่าน้ำตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 16 ตัวอย่าง (76.19%) ค่าความเป็นกรด – ด่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 19 ตัวอย่าง (90.48%) ค่าความขุ่นอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ค่าการนำไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์น้ำคุณภาพดี เพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Total coliform, Fecal coliform และ E. coli ควรมีมาตรการลดความเสี่ยงการเกิดโรคโดยการเฝ้าระวัง ติดตามคุณภาพน้ำดื่มก่อนเข้าเครื่องกรองน้ำ ประสิทธิภาพเครื่องกรองน้ำ ระยะเวลาการเปลี่ยนไส้กรอง การสุขาภิบาลน้ำดื่มให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานและประเมินคุณภาพน้ำดื่มจากตู้กดน้ำดื่มภายในสถานศึกษาด้านอื่น รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตู้กดน้ำดื่มให้เหมาะสม
Downloads
References
Department of Health. Notification of Department of Health on Standard of Drinking Water Quality.Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2020.
Ninwong B, Mohsani S, Doloh A. Method Development for Determination of Heavy Metals in Drinking Water of Schools in Nakhon Si Thammarat by Paper-Based Microfluidic Devices. Wichcha Journal 2016;35(1):1-12.
Asa P, Chotigawin R, Suwannahong K, Pibanwong M. Situation Quality of Drinking Water in Primary Schools, Chonburi Province. KKU Research Journal (Graduate Studies) 2021;21(4):222-232.
Wasana HM, Perera GD, Gunawardena PDS, Fernando PS, Bandara J. WHO water quality standards Vs Synergic effect (s) of fluoride, heavy metals and hardness in drinking water on kidney tissues. Scientific Reports 2017;7(1):1-6.
Akram S, Rehman F. Hardness in drinking-water, its sources, its effects on humans and its household treatment. Chem Applications Journal 2018;4(1):01-04.
Nanna H. Epidemiology Surveillance Report Region 6. Chonburi: Office of disease prevention and control 6 Chonburi;2020 [cited 2022 Aug 30] Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1692620210205105950.pdf
Chonburi Provincial Public Health Office. Diarrhea morbidity rate per 100,000 population [Internet]. Chonburi: Chonburi Provincial Public Health Office;2022 [cited 2022 Aug 25]. Available from: https://cbi.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
Chitpirom K. Laboratory examination in public health. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2014.
Blodgett R. BAM Appendix 2: Most Probable Number from Serial Dilutions. FDA. [cited 2020 October 9). Available from: https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-appendix-2-most-probable-number-serial-dilutions
Yamasamit N. Quantitative microbial risk assessment of total coliform and fecal coliform in drinking water from public drinking water service around Thammasat University, Rangsit Campus. [Master of Engineering]. Pathumtani: Thammasat University; 2018.
Ravadchai N, Wongwarissara P, Tipsantia D, Legkhoksung S, Sukpudsa O, Noinarin P. Water quality and sanitation of drinking water dispensers of secondary school in Mueang District, Nakhon Ratchasima Province. UBRU Journal for Public Health Research 2021;10(2):128–137.
Kulladarom R, Maiprasert M. Quality of Drinking Water in Elementary Schools in Ladkrabang, Khlong Sam Wa and Nong Chok Districts in Bangkok. Suthiparithat Journal 2020;34(111):126-134.
Yolao A, Sabangban B, Yolao W. The safety situation of water consumption from water filters at the Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen. Thai Dental Nurse Journal 2021;32(2):146-154.