การศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของสมุนไพรที่ใช้ปรุงยาตามหลักเภสัชกรรมไทย กรณีศึกษา: รากระย่อม

ผู้แต่ง

  • จินตนา นันค๊ะ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นภาพร ณ อุโมงค์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กฤษดา ศรีหมตรี วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

รากระย่อม, ลักษณะทางกายภาพ, เอกลักษณ์ทางเคมี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของรากระย่อมที่ใช้ปรุงยาตามหลักเภสัชกรรมไทย   ที่ผ่านกระบวนการเตรียมเครื่องยาไทยด้วยการฆ่าฤทธิ์ 3 รูปแบบ คือ 1. การคั่ว 2. การแช่น้ำซาวข้าวและคั่ว 3. การพรมเหล้าและคั่ว โดยอาศัยองค์ความรู้ในการตรวจสอบทางกายภาพด้วยหลักการแพทย์แผนไทย และการตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีแบบบางสมรรถนะสูง ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะ ทางกายภาพของรากระย่อมทั้ง 3 ตัวอย่าง มีลักษณะแข็ง สีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง กลิ่นคล้ายถั่วลิสงคั่ว และมีรสขม เมื่อตรวจสอบทางเคมี พบว่าทั้ง 3 ตัวอย่าง มีลักษณะการแยกเป็นแถบสารแตกต่างกันเล็กน้อย โดยที่แสงขาว ตรวจไม่พบการแยกแถบสารทั้ง 3 ตัวอย่าง แต่เมื่อตรวจสอบด้วยแสงยูวี 254 นาโนเมตร พบว่าตัวอย่าง 1 และ 2  มีการแยกแถบสาร 8 แถบ ส่วนตัวอย่าง 3 พบเพียง 7 แถบ เมื่อตรวจสอบด้วยแสงยูวี 366 นาโนเมตร พบว่า ทั้ง 3 ตัวอย่าง มีการแยกแถบสาร 8 แถบเหมือนกันแตกต่างกันที่ความเข้มของแถบ โดยตัวอย่าง 3 มีความเข้มแถบน้อยที่สุด ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยนี้ สามารถช่วยยืนยันลักษณะทางกายภาพและเคมีของรากระย่อม และมีโอกาสพัฒนาเป็นมาตรฐานสำหรับการควบคุมวัตถุดิบสมุนไพรใช้ปรุงยาตามหลักเภสัชกรรมไทยต่อไป

Downloads

References

เมดไทย. (2020) .ระย่อม สรรพคุณและประโยชน์ของต้นระย่อมน้อย 22 ข้อ. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565, จาก https://medthai.com

วิทยา บุญวรพัฒน์. สารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย, สมาคมศาสตร์การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ. 2554;1: 474.

สมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ สำนักวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ท่าเตียน พระนคร. ประมวลสรรพคุณยาไทย (ภาค 3) ว่าด้วยพฤกษชาติวัตถุธาตุ และสัตว์วัตถุนานาชนิด. กรุงเทพฯ: พิชัยการพิมพ์. 2516; 93-94.

สมพร ภูติยานันต์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยว่าด้วยสมุนไพรกับการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2542;3: 193-194.

พรรนิภา ชุมศรี. สวนนานาพฤกษสมุนไพร : ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542;3: 193.

กองประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย. 2541; 46.

กระทรวงสาธารณสุข. รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2564;1: 450.

พรพรรณ ก้อใจ และคณะ. ภูมิปัญญาในการตรวจสอบพืชสมุนไพรอย่างร่วมสมัย. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยภาคะวันออกเฉียงเหนือ. 2562; 20 กรกฎาคม 2562: 840-845.

ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์ และคณะ. การตรวจสอบมาตรฐานพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยาที่ดี กรณีศึกษาเมล็ดชุมเห็ดไทย. วารสารหมอยาไทยวิจัย. 2566; 9(1): 115-139.

ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์ และคณะ. การตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์และเอกลักษณ์ทางเคมีของเครื่องดื่มนมกระชาย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2567; 9(1): 319-327.

สมพร ภูติยานนท์. การตรวจเอกลักษณ์พืชสมุนไพร ภาคพิเศษ. กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย. 2542; 1: 714.

Agatonovic-Kustrin S, and Morton DW. Thin-layer chromatography I Fingerprint analysis of plant materials. Encyclopedia of Analytical Science (Third edition). 2019; 43-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-16

How to Cite

นันค๊ะ จ., ณ อุโมงค์ น., ศรีหมตรี ก., & ตันสุวรรณวงค์ ศ. (2024). การศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของสมุนไพรที่ใช้ปรุงยาตามหลักเภสัชกรรมไทย กรณีศึกษา: รากระย่อม. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น, 46(2). สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/kochasarn/article/view/262861