แรงงานย้ายถิ่นในสถานะการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โอกาสของภาคการเกษตรไทย Migrant workers in the state of the novel coronavirus disease 2019 may be an opportunity for Thai agriculture sector

Main Article Content

ศุภฤกษ์ ดีกัง

Abstract

       วิกฤติไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ครั้งนี้เป็น “วิกฤติที่ไม่เหมือนวิกฤติใดในอดีต” มีรูปแบบของการเกิดที่แตกต่างจากวิกฤติอื่น ๆ ในอดีต เริ่มต้นจากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 กลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่ทางสาธารณสุขโลก ภาครัฐในหลาย ๆประเทศต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหญ่ เพื่อจำกัดการแพร่ระบาด ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนและทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกหยุดชะงักพร้อมกัน กิจกรรมการผลิตหยุดชะงักพร้อมกับรายได้และกำลังซื้อที่ลดลงรุนแรงทำให้ลุกลามเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจทั่วโลก (เสาวณี จันทะพงษ์ และทศพล ต้องทุ้ย, 2563)


       ด้วยสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่กำลังวิกฤตไปทั่วโลก และประเทศไทยที่มีตัวเลขพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อปัญหาในด้านเศรษฐกิจโลก ทำให้หลายคนต้องว่างงาน และมีรายได้น้อยลง โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้เป็นการระบาดครั้งใหญ่ (pandemic) ที่ส่งผลกระทบรุนแรงและกว้างขวางทั้งต่อสุขภาพ ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วโลก สำหรับประเทศไทยสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อพบว่ามีการแพร่ระบาดกลุ่มใหญ่จากกลุ่มเชียร์มวยที่สนามมวยลุมพินี และจากคนไทยที่กลับจากปฏิบัติกิจทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อแพร่กระจายไปทั่วประเทศ และไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ระลอกที่ 3 ในต้นเดือน เมษายน 2564 ทำให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจสะดุดเป็นช่วงๆ เกิดจากปัญหาไวรัสกลายพันธุ์ การเข้าถึงและประสิทธิภาพวัคซีน (สมุห์สนิทวงศ์ วุฑุฒิว์โส และขันทอง วัฒนะประดิษฐ์, 2564)

Article Details

Section
Academic Article (บทความวิชาการ)