ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน Effect of Learning Thai Language of the Second-grade Students by using Project-Based Learning with Lesson Study

Main Article Content

ประกายฝน บรรดาศักดิ์ไพศาล

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อ ศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ศึกษาความสามารถในการทำโครงงาน และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 7 แผน แบบประเมินโครงงาน  แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)  จำนวน  35  คน ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2560 การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าสถิติพื้นฐาน  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ  มีการนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบตารางและบรรยายข้อมูลในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) บทบาทของครูผู้สอน เป็นผู้ให้ข้อมูลความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับโครงงาน และเป็นผู้คอยชี้แนะแนวทางในการทำงานให้แก่นักเรียนเมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เป็นที่ปรึกษาทั้งทางด้านวิชาการและทางสังคมเพื่อให้การทำงานสามารถดำเนินการลุล่วงได้ ส่วนบทบาทของนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติซึ่งพบว่า นักเรียนร่วมมือร่วมใจกันทำงาน มีความเชื่อมั่นในตนเองและยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล นักเรียนมีทักษะในการสืบค้นข้อมูล รู้จักวางแผนการทำงาน มีความมุ่งมั่นในการทำงานจนสำเร็จ จัดระบบการทำงานแบ่งเวลาในการเรียนและการทำกิจกรรมโครงงานได้ดี 2. ความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนในทุกด้านอยู่ในระดับสูง (x̄ = 2.86, S.D.=0.16) จำแนกในแต่ละด้านมีดังนี้ ความสามารถด้านผลงานและการนำเสนอ (x̄ = 3.00, S.D.=0.00) ความสามารถด้านกระบวนการทำงาน (x̄ = 2.85, S.D.=0.24) และความสามารถด้านการวางแผนการทำงาน (x̄= 2.73, S.D.=0.23)  3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (x̄ = 4.33 S.D.=0.81) จำแนกแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านการจัดการเรียนรู้ (x̄ = 4.40 S.D.=0.82) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ (x̄ = 4.30 S.D.=0.81) และด้านบรรยากาศการเรียน (x̄ = 4.29 S.D.=0.81)


คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน การศึกษาชั้นเรียน


 Abstract


            This study aimed at investigating the effects of learning arrangements using project-based learning, exploring the students’ project work abilities, and studying the students’ opinions towards project-based learning with Lesson Study. The research instruments included seven lesson plans, a project work assessment form, a learning arrangement observation form, and a student opinion survey form. The target group consisted of                         35 second-grade students studying in the second semester of the academic year 2017 at Khon Kaen University Demonstration Elementary School (Suksasart). The data were analyzed quantitatively as well as qualitatively. Mean and percentage were the basic statistics used in data analysis. The results were presented in tables and descriptions.


             The results of the study were as follows: First of all, organizing the learning through project-based learning with Lesson Study revealed that both the teacher and the students played important roles in the lessons. The teacher gave a lecture on project work conduction and facilitated the students when they encountered any obstacles, as well as being a counselor about academic or social problems until they achieved their goals. On the other hand, the students collaboratively conducted project work with confidence and learned to accept everyone’s individual differences. Moreover, the students were found to have information-searching skills, planning skills, work commitment, and time management skills by managing to learn and do project work at different times. Secondly, the students’ overall project work abilities in all aspects were at a high level (x̄ = 2.86, S.D. = 0.16). The results of each aspect were as follows: project work and presentation ability (x̄ = 3.00, S.D.=0.00), working process ability (x̄ = 2.85, S.D.=0.24), and planning ability (x̄= 2.73, S.D.=0.23). Finally, the students’ overall opinions were at the highest level (x̄ = 4.33 S.D.=0.81). The results of each opinion aspect were as follows: learning management (x̄ = 4.40 S.D.=0.82), benefits of the learning arrangement (x̄ = 4.30 S.D.=0.81), and the learning environment (x̄ = 4.29 S.D.=0.81).


Keywords: Project-based learning, Lesson Study

Article Details

Section
Research Article (บทความวิจัย)