การนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในสถานการณ์ โควิด 19 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 Supportive supervision to enhance students' academic achievement in the situation of COVID-19 Prachuap Khiri Khan Primary Educational Service Area District Office 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินสมรรถภาพในการนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19 2. ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19 3. ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19 4. ประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารและครูที่มีต่อนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19 5. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19 6.ประเมินผล การเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ประเภทการทดลองกึ่งทดลอง (Pre Experimental Design) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ผู้บริหารจำนวน 7 คน 2) ครู 7 โรงเรียน 1 สาขา จำนวน 12 คน ในกลุ่มตะนาวศรี โดยใช้การสุ่มแบบอาสาสมัคร (volunteer sampling) 3) นักเรียนจำนวน 328 คน และ4) ผู้ปกครอง จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ 3) แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการนิเทศการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) คู่มือการนิเทศการสอน 6) แบบประเมินสมรรถภาพครู 7) แบบสัมภาษณ์ 8) แบบประเมินทักษะการนิเทศการสอน 9) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการนิเทศการสอน 10) แบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสถิติวิเคราะห์ โดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนที่เป็นคำถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ครูผู้รับการนิเทศมีสมรรถภาพในการการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครองพึงพอใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: การนิเทศแบบสนับสนุน, ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สถานการณ์โควิด 19
Abstract
The objectives of this research were: 1. to assess the competence in supportive supervision to enhance students' learning achievement in the situation of COVID-19; COVID-19 Situation 3. Assess the knowledge and understanding of learning management to enhance students' learning achievement in the situation of COVID-19 4. Assess the satisfaction of administrators and teachers with supportive supervision to raise the level. Student's Academic Achievement in the COVID-19 Situation 5. Assess the students' and parents' satisfaction towards raising the student's academic achievement in the situation of COVID-19 6. Evaluate the learning outcomes of students before and after raising the level of student achievement in the situation of COVID-19In this research is an experimental research. Type of quasi-experimental experiment (Pre Experimental Design), which the researcher conducted the experiment according to the research model, One Group Pretest Posttest Design. sample group In this research, 1) 7 administrators 2) 12 teachers in 7 schools in 1 branch of Tanaosri group. Using volunteer sampling, 3) 328 students and 4) 328 parents. The research instruments consisted of 1) a test to measure learning achievement in Thai language and mathematics Grade 3 2) Student satisfaction questionnaire on learning management to enhance learning achievement at the national level 3) Thai and mathematical skills assessment form 4) Satisfaction questionnaire about Supervision to enhance learning achievement 5) Teaching supervision manual 6) Teacher performance assessment form 7) Interview form 8) Supervising Teaching Skills Assessment 9) Teaching Supervisory Knowledge Test 10) Satisfaction Questionnaire About Enhancement of Learning Achievement The qualitative data was analyzed by content analysis, quantitative data analysis, statistical analysis by using descriptive statistic, i.e. percentage value; The mean, mean percentage and standard deviation were analyzed.
The results showed that The supervising teachers had the ability to provide supportive
supervision to enhance learning achievement after the experiment higher than before the experiment. Teachers receiving supervision had higher capacity in learning management to enhance learning achievement after the experiment than before the experiment. At the .05 level, the school administrators, teachers, students and parents were satisfied with the supportive supervision to raise their learning achievement.
Keywords: supportive supervision, enhance academic achievement, COVID-19 situation