อนาคตการเกษตรไทย

Main Article Content

อนันต์ พลธานี

Abstract

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาตั้งแต่ในอดีต มีพื้นที่ในการเพาะปลูกเป็นอันดับที่ 48 ของโลก มีวัฒนธรรมโดดเด่นทางด้านอาหารติดอันดับต้นๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเลแช่แข็ง อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้สามารถเข้าถึงรสนิยมของผู้บริโภคในระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี ดังเช่น ทุเรียน เป็นต้น


ในอีก 30 ปีข้างหน้าประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 9 พันล้านคน ความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นโอกาสดีของประเทศไทยในบทบาทครัวโลกในอนาคต ทั้งเป็นผู้นำด้านแหล่งผลิตวัตถุดิบ และด้านอุตสาหกรรมอาหาร


          ประเทศไทยเป็นสังคมเกษตร ชาวนาเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุด และยากจนที่สุด ในบรรดาเกษตรกรไทย ปัจจุบันภาคเกษตรที่ทำอยู่บนพื้นที่ดิน 140 ล้านไร่ มูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท เฉลี่ย 1 หมื่นบาทต่อไร่ต่อปี ซึ่งต่ำในขณะที่ต่างประเทศมูลค่า 5 หมื่น – 1 แสนบาทต่อไร่ต่อปี การเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรให้สูงขึ้นจึงสมควรกำหนดเป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องทำกันอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้ ไทยถูกจัดให้เป็นประเทศกำลังพัฒนามา 20 ปีแล้ว คนส่วนใหญ่มีรายได้ปานกลางเฉลี่ย 2.4 แสนบาทต่อคนต่อปี ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีรายได้ 4.6 แสนบาทต่อคนต่อปี ดังนั้นจะต้องผลักดันให้คนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 44% ต่อคนต่อปี เพื่อก้าวสู่ประเทศพัฒนา บทความเรื่องนี้ได้กล่าวถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ได้แก่ รายได้และการกระจายรายได้ ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการเกษตร ภาวะโลกร้อน น้ำคือรากฐานสำคัญของการเกษตรประเทศไทย การวางรากฐานการผลิตให้สอดคล้องกับการตลาด การเปลี่ยนบริหารจัดการสู่ภูมิภาค การเกษตรแม่นยำ และผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การตลาดนำการผลิต และการใช้ผลงานวิจัยจากหน่วยงาน จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องด้านการเกษตร และผู้ที่สนใจทั่วไป

Article Details

Section
Special Article (บทความพิเศษ)