คุณธรรมตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียน ละลมห้วยตามอญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 Virtue According to The 4 Brahmawihan Principles of School Administrators Lalom Huay Ta Mon School Group Under The Office Sisakate Primary Education Service Area 3
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณธรรมตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนละลมห้วยตามอญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 (2) เปรียบเทียบคุณธรรมตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนละลมห้วยตามอญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนละลมห้วยตามอญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำนวนครูทั้งสิ้น 115 คน กลุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครซี่ และ มอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 92 คน วิธีดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (3) เก็บรวบรวมข้อมูล (4) วิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า คุณธรรมตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียน ละลมห้วยตามอญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จากการประเมินของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ คือ ด้านเมตตา ด้านมุทิตา ด้านกรุณา และด้านอุเบกขา
ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อคุณธรรมตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า ครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีการประเมินคุณธรรมตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้