การวิจัยเชิงพื้นที่ Area - based - research

Main Article Content

อนันต์ พลธานี

Abstract

          การวิจัยเชิงพื้นที่ (Area - based - research) เป็นการวิจัยที่ผู้ใช้ได้มีส่วนร่วมในการทำวิจัย ผลลัพธ์ที่ได้จึงมีโอกาสสูงในการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง “ถูกที่ ถูกคน” เกาถูกที่คัน การวิจัยมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนดังแสดงในรูป



          การวิจัยเชิงพื้นที่ดังกล่าวนี้แม้ว่านักวิชาการยังเป็นผู้ดำเนินการหลัก แต่ผู้ใช้ในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทำวิจัย ความเป็นจริงของพื้นที่ไม่ใช่ความสนใจของนักวิจัยเป็นตัวกำหนดโจทย์ปัญหา (กนก,2559) วิธีการแก้ปัญหาทางการเกษตรของเกษตรกรรายย่อยควรเริ่มต้นทำงานแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม (Horne and Stor,1999) กล่าวโดยทั่วไปชาวบ้านได้มีการทดลองค้นหาเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยตนเองเช่นเดียวกัน (Polthanee, 1999) แต่เมื่อสอบถามเชิงลึกชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่สามารถตอบให้เหตุผลในเชิงวิชาการได้ว่าเทคโนโลยีที่พบให้ผลดีกว่า เนื่องจากปัจจัยอะไร เพราะอะไร เหตุผลในเชิงวิชาการที่ถูกต้องมีความสำคัญในการนำไปศึกษาต่อยอดให้มีความลึกซึ้งต่อไปได้


การวิจัยเชิงพื้นที่ดังกล่าวนี้ เป็นงานวิจัยประยุกต์ดำเนินการหลักโดยทีมนักวิจัยสหวิทยาการและ                 มีชาวบ้านเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ร่วมวิจัย กรณีที่งานวิจัยดำเนินการเป็นหลักโดยชาวบ้านโดยทีมนักวิจัย                         สหวิทยาการ เป็นผู้ร่วมทำงานวิจัยลักษณะนี้เรียกว่างานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (ประทีบ วีระพัฒนนิรันดร์, 2548) เงื่อนไขความสำเร็จของงานวิจัยชุมชนต้องได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรโดยการสร้างแรงจูงใจและเวลาของเกษตรกร (นิพนธ์,2557)


          โจทย์วิจัยควรมีมุมมองเป็นทางเลือกโดยเชื่อมโยงการผลิตกับอุตสาหกรรมเกษตร การเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ควรจะเน้นให้มากขึ้นแทนที่จะขายวัตถุดิบ มูลละค่าเพิ่มที่จะได้จากการแปรรูปมากกว่าการจำหน่ายผลิตสดประมาณ ร้อยละ 21-30 (ชูวิทย์ มิตรชอบ และคณะ, 2552)


           โจทย์วิจัยไม่ใช่เฉพาะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแต่ควรคำนึงเพื่อรองรับในอนาคต เช่น ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศโลก การวิจัยทางการเกษตรควรมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Article Details

Section
Special Article (บทความพิเศษ)