การพัฒนาสมรรถนะในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น Development of competency in consumer protection operations of village health volunteers Mueang Kao Subdistrict, Mueang Khon Kaen

Main Article Content

แสงระวี อุปสัย

Abstract

บทคัดย่อ


 


           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของ อสม.ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น ใน อสม.กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมพัฒนาศักยภาพงานคุ้มครองผู้บริโภค อสม.กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาศักยภาพงานคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นการอบรมมีเนื้อหาประกอบด้วย 1) การสร้างเสริมคุณลักษณะเฉพาะตัวของ อสม. 2) ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3) ทักษะที่ใช้ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค 4) การพัฒนาอัตมโนทัศน์งานคุ้มครองผู้บริโภค และ 5) การสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและปฏิบัติการออกสำรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพตามร้านค้าในชุมชน  ผลการศึกษา พบว่า อสม. ส่วนใหญ่ ของตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นเพศหญิง อายุ  50– 60 ปี สถานภาพสมรส ประกอบอาชีพเกษตรกร จบระดับชั้นประถมศึกษา ข้อมูลคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 5 ด้านถูกวิเคราะห์ด้วย MANOVA (multivariate analysis of variance) ก่อนการทดลองคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 5 ด้าน ของ อสม. ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (T2 =0.02;  F(5 , 96) =  0.584; p = 0.76) หลังได้รับโปรแกรมพัฒนาศักยภาพแล้ว พบว่า อสม.กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01  (T2 = 39.01;  F(5 , 96) =  748.95; p = .00) ทั้งด้านความรู้การคุ้มครองผู้บริโภค  ด้านทักษะการคุ้มครองผู้บริโภค  ด้านอัตมโนทัศน์ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค และด้านแรงจูงใจการคุ้มครองผู้บริโภค  ดังนั้นควรจัดให้ อสม. ทุกคนได้รับโปรแกรมพัฒนาศักยภาพงานคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อส่งเสริมให้ มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานสาธารณสุขต่อไป


Abstract


           The purpose of this research was to compare the performance of consumer protection operations of Mueang Kao Subdistrict Village Health Volunteers, Mueang Khon Kaen District in the experimental group and control group, before and after receiving the consumer protection potential development program. Village health volunteers in the experimental group received a program to develop their potential in consumer protection work, which consisted of training content consisting of 1) strengthening the unique characteristics of village health volunteers, 2) knowledge about health products, 3) skills used in carrying out consumer protection work. consumption 4) development of self-concept in consumer protection work, and 5) creation of motivation for consumer protection work and conducting surveys of health products in stores in the community.


           The results of the study found that most village health volunteers in Mueang Kao Subdistrict Mueang Khon Kaen District were female, 50–60 years old, marital status, working as a farmers and completed primary school. Data on the average performance scores in all 5 areas of consumer protection operations were analyzed with MANOVA (multivariate analysis of variance). Before the experiment, the mean performance scores in consumer protection operations of the two groups were not significantly different (T2 =0.02; F(5 , 96) = 0.584; p = 0.76). After receiving the capacity development program, it was found that village health volunteers in the experimental group had a significantly higher average score of competency in consumer protection operations than the control group at the 0.01 level (T2= 39.01; F(5 , 96) = 748.95; p = .00) in terms of consumer protection knowledge, consumer protection skills, self-concept in consumer protection operations, and consumer protection motivation. Therefore, it should be arranged for all village health volunteers to receive a program to develop their potential in consumer protection work to promote their knowledge and ability to continue performing public health work.

Article Details

Section
Research Article (บทความวิจัย)