การกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในคดียาเสพติดภายในเรือนจำจังหวัดเลย Recidivism of Drug Offenders in Loei Provincial Prison.

Main Article Content

สุริยา จำปาศิริ

Abstract

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังชายในคดียาเสพติดภายในเรือนจำจังหวัดเลย เพื่อเปรียบเทียบการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในคดียาเสพติดภายในเรือนจำจังหวัดเลย ที่มีลักษณะส่วนบุคคล และพฤติกรรมของผู้ที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแตกต่างกัน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน และเพื่อเสนอแนวทาง มาตรการหรือนโยบายในการพัฒนาและฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังที่ได้จากการวิจัยไปใช้ในองค์กรเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้มีความเหมาะสมแก่โทษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือจำนวนผู้ต้องขังเด็ดขาดในคดียาเสพติด เรือนจำจังหวัดเลยจังหวัดเลย โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane. 1973) ได้จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในคดียาเสพติดภายในเรือนจำจังหวัดเลย ที่มีลักษณะส่วนบุคคล และพฤติกรรมของผู้ที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแตกต่างกัน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน


              ผลการวิจัยพบว่า การกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในคดียาเสพติดภายในเรือนจำจังหวัดเลย ในภาพรวมพบว่าด้านการยอมรับทางสังคมและชุมชน มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในคดียาเสพติดภายในเรือนจำจังหวัดเลย อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 3.62 , S.D. = 2.87) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ (x̄ = 3.76 , S.D. = 0.99 ) ให้ความเห็นว่าการได้ร่วมกิจกรรมของผู้พ้นโทษกับครอบครัวช่วยป้องกันการกระทำผิดซ้ำได้ มีจำนวนมากที่สุด การกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังรองลงมา คือ ด้านการประกอบอาชีพ (x̄ = 3.18 , S.D. = 2.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ (x̄ = 3.58 , S.D. = 1.00 ) ให้ความเห็นว่าการดำรงชีวิตในสังคมของท่านมีความจำเป็นเป็นอย่างมากมีจำนวนมากที่สุด ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังน้อยที่สุด คือด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว (x̄ = 1.82 , S.D. = 0.22) ผลการเปรียบเทียบจากการเปรียบเทียบการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังภายในเรือนจำจังหวัดเลย ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน โดยภาพรวมผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดเลย ที่มีเพศต่างกัน มีกระทำผิดซ้ำไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดเลย ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีการกระทำผิดซ้ำไม่แตกต่างกัน ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางมาตรการหรือนโยบายในการพัฒนาและฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง และเป็นข้อเสนอแนะต่อกรมราชทัณฑ์สรุปได้ดังนี้ ด้านสัมพันธ์ในครอบครัว ควรจัดให้ผู้ต้องขังได้เยี่ยมญาติใกล้ชิดกับครอบครัว และเพิ่มช่องทางการเยี่ยมญาติเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันภายในครอบครัวให้มากขึ้น ด้านเศรษฐกิจ ควรจัดอบรมฝึกวิชาชีพที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก มีกองทุนกู้ยืมเพื่อใช้เป็นทุนในการประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้เป็นของผู้ต้องขังที่พ้นโทษออกไป ส่งเสริมอาชีพและการทำงานให้กับผู้ต้องขังภายในเรือนจำให้มีความหลากหลาย ด้านการยอมรับทางสังคมและชุมชน ควรจัดสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ภารกิจในการพัฒนาพฤตินิสัยและบทบาทของสังคมในการรับช่วงต่อในการคืนคนดีสู่สังคม ควรจัดให้คำปรึกษาและดูแลผู้ต้องขังอย่างใกล้ชิดในระหว่างที่ถูกคุมขังภายในเรือนจำ และผู้ต้องขังได้รับการปล่อยตัวระยะแรก ด้านการลงโทษ กฎหมาย ควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับยาเสพติด และมีกระบวนการหรือมาตรการรักษาสำหรับบำบัดผู้เสพยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้านการประกอบอาชีพควรจัดหาตำแหน่งงานว่างของสถานประกอบการที่เป็นการร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับเรือนจำ  ทัณฑสถาน และกรมราชทัณฑ์ไว้รองรับผู้พ้นโทษ และด้านด้านการกระทำความผิดครั้งก่อนควรให้คำแนะนำในการไม่รับสิ่งของที่ไม่ทราบที่มา และสิ่งของที่ไม่สามารถมองเห็นจากบุคคลที่ไม่รู้จักให้คำแนะนำแก่ผู้พ้นโทษไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มคน หรือบุคคลที่มีพฤติกรรมที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อจะได้ไม่ไปมีส่วนเกี่ยวข้องเมื่อถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย



คำสำคัญ: การกระทำผิดซ้ำ; ผู้ต้องขัง; คดียาเสพติด; เรือนจำจังหวัดเลย


 


Abstract


            The objective of this research was to study the recidivism of drug offenders in Loei Provincial Prison. To compare the recidivism of drug offenders within the Provincial Prison with different personal characteristics and behaviors of drug offenders. classified by gender, age, education level and monthly income, and to propose guidelines. Measures or policies to develop and train prisoners obtained from research to be used in the organization as a guideline to revise drug laws to be appropriate for punishment. The sample used in the research was the number of inmates convicted of drug offenses. Loei Prefectural Prison using the formula of Taro Yamane (Yamane. 1973) for 305 people. The data collection tool consists of three parts: the statistics used to analyze the data, namely the descriptive statistics: percentage, average, and standard deviation for general data of the sample. Inferential statistics include T-test and F-test for comparing factors affecting recidivism of drug offenders within Loei Provincial Prison with different personal characteristics and behaviors of drug offenders. Classified by gender, age, education level and monthly income.


The results of the research showed that repeat offenders of drug offenders in Loei Provincial Prison. Overall, social and community acceptance It affects the recidivism of drug offenders within the Provincial Prison. On a case-by-case basis, the majority of the population (x̄ = 3.76 , S.D. = 0.99 ) commented that participating in the activities of the acquitted and their families helped prevent recidivism. Largest number The second most common recidivism of prisoners was occupational (x̄ = 3.18, S.D. = 2.41). On a case-by-case basis, it was found that the majority of the population (x̄ = 3.58 , S.D. = 1.00 ) commented that your social life is very necessary. The least contributing factor to recidivism among inmates was family relations (x̄ = 1.82 , S.D. = 0.22). There is no difference in repeat offenders. Inmates in Loei Provincial Prison differ in age, level of education and average monthly income. There is no difference in repeat offenses. The recommendations on measures or policies for the development and vocational training of inmates and recommendations to the Department of Corrections are summarized as follows: Family relations should be provided. Inmates visit relatives close to their families and increase channels to visit relatives to foster better relationships within the family. On the economic side, vocational training in line with the labor market should be organized in collaboration with external agencies. There is a loan fund to finance business operations that generate income for prisoners who have been released from prison. Promote career and work diversity for prison inmates In terms of social and community acceptance, public relations media should be organized to disseminate the mission of developing behavior and the role of society in taking over the reintegration of good people into society. And the inmate was released in the first phase of his punishment. Laws relating to drugs should be revised and procedures or measures for treating drug users should be more effective. On the occupational side, vacancies should be provided by establishments that are collaborations between the private sector and prisons. Correctional institutions and the Department of Corrections should advise against accepting items of unknown origin and items that cannot be seen from unknown persons. Advise the acquitted not to interfere with groups of people or persons whose behavior is related to drugs so that they do not get involved when they are prosecuted under the law.


 


Keywords: Recidivism; Offenders; Drug; Loei Provincial Prison

Article Details

Section
Research Article (บทความวิจัย)