การติดตามประเมินผลการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ดำเนินการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง 130 ชั่วโมง, สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น The Follow-up and Evaluation of the Health Care Manager for Older or Dependent Persons 130 Hours Training Course, Office of Academic Services, Khon Kaen University

Main Article Content

ลลดา สินธุพันธ์
ภัคณัฐ วีรขจร
เดือนเพ็ญดาว ชิวพิมาย
ณัฐพล หีบแก้ว
กรรษา พลเยี่ยม
ภานุพงศ์ ริ้วพงษ์กุล
พิสิษฐ์ วงษ์ไชยศิริ
อิศราพงศ์ ฟักตั้ง
กนกวรรณ รัตน์สุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ


การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินการหลักสูตรผู้ดำเนินการกิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง 130 ชั่วโมง สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น            ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามติดตามประเมินผลหลักสูตร และ 2) แบบสัมภาษณ์แบบแนวคำถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ 95% Confidence Interval ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ <0.05 ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)  สรุปผลการวิจัย มีดังนี้


  1. ผลการติดตามประเมินผลการอบรม พบว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด การดำเนินการจัดหลักสูตรผู้ดำเนินการกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพึง 130 ชั่วโมง เนื้อหาหลักสูตรตรงตามความต้องการของผู้เข้าอบรม และความสอดคล้องกับประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุขให้สถานประกอบการบริการโดยวิทยากรผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจ ทักษะและสมรรถนะที่ได้รับจากการฝึกอบรมนำไปปรับใช้ได้จริง

  2. ผลการประเมินด้านการดำเนินการจัดอบรม พบว่ามีความพึงพอใจมากที่สุด การดำเนินการจัดอบรมด้านกระบวนการฝึกอบรมการเรียนออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting มีความสะดวก เนื่องจากทำงานประจำอาจจะไม่มีเวลาเดินทางไปอบรมต่างจังหวัด เนื้อหาในเอกสาร/คลิปวิดีโอการเรียนการสอน มีความเข้าใจง่าย การจัดการด้านระบบคลังความรู้ออนไลน์ทั้งเอกสารและคลิปการเรียนการสอนเป็นประโยชน์ในการเข้าถึง ความพึงพอใจต่อการจัดอบรมนั้นผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ

  3. ผลประเมินด้านผลผลิต พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกหัวข้อ ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและสมรรถนะที่ได้รับจากการฝึกอบรม ผู้เข้าอบรมเกิดการเพิ่มพูนองค์ความรู้และสมรรถนะในการประกอบอาชีพอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิคด้านการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความก้าวหน้าและการเพิ่มระดับค่าตอบแทนในการประกอบอาชีพได้ สามารถพัฒนางานและกระบวนการดำเนินงาน อีกทั้งยังสามารถการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ที่อยู่ในสายงานเดียวกัน สร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานในธุรกิจบริการสุขภาพ การต่อยอดในส่วนของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้เพิ่มมาตรฐานต่อการดำเนินการในธุรกิจบริการสุขภาพ และส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงอย่างยั่งยืนในอนาคต

 


คำสำคัญ:  ผู้ดำเนินการการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง ติดตามและประเมินผล ธุรกิจบริการสุขภาพ


Abstract


The Follow-up and Evaluation of the Health Care Managerfor Older or Dependent Persons 130 Hours Training Course,Office of Academic Services, Khon Kaen University


 


This research study aimed to follow-up and evaluate the implementation outcomes of a health care manager for older or dependent persons 130 hours training course, Office of Academic Service, Khon Kaen University in context, basic factors, process and output. The research methodology employed a mixed-method approach, combining quantitative research using questionnaires for data collection and qualitative research using in-depth interviews. The research tools were 1) a questionnaire for following-up and evaluating program outcomes, and 2) a semi-structured interview guide. Data analysis involved statistical methods such as percentages, means, standard deviations, and 95% confidence intervals with a statistical significance level of <0.05. Qualitative data analysis was conducted using content analysis and conclude as follows:


  1. Results of training evaluation follow-up found that the training was highly appropriate. The course duration for operators caring for the elderly and vulnerable individuals was 130 hours. The course content aligned with the participants' needs and complied with the Ministry of Public Health regulations for service providers. The training was conducted by knowledgeable and experienced instructors. Participants gained knowledge, understanding, skills, and competencies that they could apply in real-life situations.

  2. Evaluation results for training procedures indicate that the training process was highly satisfactory. Conducting online training sessions via Zoom Meetings was convenient for participants who had busy schedules and could not travel to different provinces for training. The training materials, including documents and video clips, were easy to understand. The online knowledge management system, including documents and video clips, was beneficial for accessibility. Participants were highly satisfied with the training, especially with the service provided by the staff.

  3. Productivity evaluation results showed high levels of achievement. Participants gained knowledge, understanding, skills, and competencies from the training, leading to significant improvements in their professional knowledge and competencies. Particularly, techniques in elderly care and health promotion led to advancements and increased returns on professional practice. The training enabled participants to develop work processes, network with colleagues in the same field, and establish connections with healthcare service providers. This collaborative effort raised standards in healthcare services, positively impacting the quality of life for the elderly and vulnerable individuals in the future.

 


Keywords: Health care manager for older or dependent persons, Follow-up and evaluate healthcare service business

Article Details

Section
Special Article (บทความพิเศษ)