การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโท A Study of Undergraduate Students’ Opinions in the Faculty of Economics at Khon Kaen University on Pursuing a Master's Degree
Main Article Content
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและนำผลจากการศึกษามาเป็นแนวทาง
ในการพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2566) จำนวน 181 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
แบบข้อคำถามให้เลือกตอบและเติมคำตอบ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทหลักสูตรเศรฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอาชีพ (หลักสูตรภาษาไทย)
คิดเป็นร้อยละ 43.09 โดยเข้าศึกษาในระบบรับเข้าศึกษาปกติ (จบปริญญาตรีและสมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทตามรอบที่เปิดรับสมัคร) คิดเป็นร้อยละ 41.99 ความคิดเห็นเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอนมีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่สอน มีค่าเฉลี่ย 4.58 การศึกษาในระดับปริญญาโทจะทำให้มีโอกาส รายได้ และ ความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพมากกว่าจบระดับปริญญาตรี มีค่าเฉลี่ย 4.53 หลักสูตรมีมาตรฐานน่าเชื่อถือ
มีค่าเฉลี่ย 4.52 อาจารย์มีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4.52 ต้องการเนื้อหาของหลักสูตรและการนำไปประยุกต์ โดยมีความรู้ที่กว้างในหลายแขนงในหลักการแต่อาจต้องศึกษาเพิ่มเติม ใช้ในการประยุกต์ใช้เพื่อประกอบอาชีพได้ในทันที คิดเป็นร้อยละ 59.12 ต้องการมีส่วนร่วมกับการวิจัยที่สูงขึ้นมีโอกาสตีพิมพ์และนำเสนองานในที่ประชุมชั้นนำเพื่อส่งเสริม Profile ของผู้เรียนและสามารถสำเร็จการศึกษาภายในเวลาที่กำหนด คิดเป็น
ร้อยละ 57.46 ต้องการเน้นการเรียนในรูปแบบ On site เพื่อความเข้าใจในการเรียนการสอนและการถามตอบที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน คิดเป็นร้อยละ 79.01 ต้องการให้การจัดเรียนการสอนนอกเวลาราชการ (จ.-ศ.) และวันเสาร์ – อาทิตย์ เพื่อให้สามารถทำงานประจำในระหว่างศึกษาด้วยได้ คิดเป็นร้อยละ 55.80 และ ต้องการได้รับทุนการศึกษา โดยมีภาระงานวิจัยเพิ่มขึ้นจากการช่วยงานด้านวิชาการและทำงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย คิดเป็นร้อยละ 67.96 คือ ความคิดเห็นและความต้องการที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทมากที่สุด สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คือ ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 30.94 รองลงมา คือ ชื่อเสียงของหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 28.73 และ ชื่อเสียงของอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 24.86 ตามลำดับการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า เพศ หลักสูตรที่ศึกษา และชั้นปีที่กำลังศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ไม่แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05