การศึกษาระบบผลิตออกซิเจนด้วยกังหันลมแบบหลายใบ โดยใช้หลักการเก็บพลังงานด้วยการอัดอากาศ
คำสำคัญ:
กังหันลมแบบหลายใบ, อัดอากาศ, ความเร็วลมต่ำบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาระบบอัดอากาศด้วยกังหันลมแบบหลายใบที่ความเร็วลมต่ำเพื่อใช้สำหรับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อหาความเร็วลมในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับระบบอัดอากาศ, หาอัตราการไหลของอากาศภายในท่อขณะกำลังอัดอากาศและหาความดันของอากาศภายในถังอัดขณะที่มีการอัดอากาศ ในการทดลองระบบอัดอากาศจะมีต้นกำลังในการอัดอากาศจากคอมเพรสเซอร์ต่อเฟืองขับกังหันลมที่แกนใบ โดยการทดลองการอัดอากาศจะประกอบด้วยเครื่องมือวัด (1) PressureTransmitter เพื่อบันทึกความดันในถังเก็บลม (2) Air Flow Transmitter เพื่อดูการไหลภายในท่อ (3) Anemometer เพื่อวัดความเร็วลมขณะทำการทดลอง (4) Data Logger เพื่อบันทึกข้อมูลแต่ละช่วงเวลา ผลจากการทดลองวัดความเร็วลมในพื้นที่จริงได้ค่าเฉลี่ยที่ 3 m/s, อัตราการไหลภายในท่อสูงสุดไม่เกิน 3 m3/s และความดันภายในถัง 5 bar ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลที่ได้จากการทดลองนั้นเหมาะสำหรับการผลิตออกซิเจนในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ใช้กังหันลมแบบหลายใบ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการอนุรักษ์พลังงานที่สามารถช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากวิธีการแบบเดิมในการผลิตออกซิเจนโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลัง, ระบบผลิตออกซิเจนโดยใช้กังหันลมแบบหลายใบสำหรับการขับคอมเพรสเซอร์เพื่ออัดอากาศเป็นต้นแบบสำหรับการนำไปใช้จริง เพื่อลดค่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนและรวมถึงสามารถนำความรู้และหลักการที่ได้เผยแพร่แก่ชุมชนหรือองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป
References
Joselin, G.M. et al., (2007) A review of wind energy technologies. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 1117-1146.
Ridge, E.S. & Grid, L.P. (2005). The Economic Impact of CAES on Wind in TX, OK, and NM. Texas State Energy Conservation Office, June 27.
Zunft S., Jakiel C., Koller M & Bullough C (2006). Adiabatic Compressed Air Energy Storage for the Grid Integration of Wind Power. Sixth International Workshop on Large-Scale Integration of Wind Power and TransmissionNetworks for Offshore Windfarms, 26-28 October, Delft, the Netherlands