ผลการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยศาสตร์มณีเวชต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย ในสตรีมุสลิมวัยแรงงาน จังหวัดนราธิวาส
คำสำคัญ:
การออกกำลังกายแบบมณีเวช, สตรีมุสลิม, ขั้นของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกายก่อนและหลังการใช้ศาสตร์มณีเวชกลุ่มตัวอย่างคือ สตรีมุสลิมวัยแรงงานในจังหวัดนราธิวาส ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย และใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำงกายของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านความรู้ 0.75 ด้านทัศนคติ 0.76 และ ด้านพฤติกรรมการออกกำลังกาย 0.78 และแบบประเมินขั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของกุลธิดา พานิชกุล และอติพร สำราญบัวส่วนที่ 2 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ สื่อวิดิทัศน์ และคู่มือการออกกำลังกายแบบมณีเวช ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และสื่อบุคคลสาธิตการออกกำลังกายแบบมณีเวช ซึ่งได้ทำการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกายและขั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนการทดลอง และทำการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างทุกคนออกกำลังกายร่วมกันในสัปดาห์แรก และติดตามผลการออกกำลังกายในสัปดาห์ที่ 2 จำนวน 3 วัน สัปดาห์ที่ 3 จำนวน 2 วัน และสัปดาห์ที่ 4 จำนวน 1 วัน หลังการทดลอง 1 เดือน ทำการประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกายและขั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้เครื่องมือชุดเดิมก่อนทดลอง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ค่าคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ รวมถึงขั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายของสตรีมุสลิมวัยแรงงานก่อนและหลังการทดลองวิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทีคู่ (paired t test)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้ (M=11.8, S.D.=2.00) ทัศนคติ (M=38.70, S.D.=3.57) และการปฏิบัติการออกกำลังกาย (M=37.52, S.D.=3.09) หลังทดลองมากกว่าก่อนทดลอง (M=7.11, S.D.=2.29, M=31.74,S.D.=3.58 และ M=28.81, S.D.=3.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ t = 15.83,13.01 และ 6.31, p < .001 นอกจากนี้ หลังจากได้ติดตามผลหลังการทดลอง 1 เดือน พบว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในขั้นที่ 3 คือเริ่มปฏิบัติ (ร้อยละ 81.5) ในขณะที่ก่อนการทดลองส่วนใหญ่ อยู่ในขั้นที่ 2 คือเริ่มคิดพิจารณา (ร้อยละ 51.9)ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยศาสตร์มณีเวชส่งผลให้มีปฏิบัติการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นและทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย
References
Burns, N., & Grove, S. K. (2005). The practice of nursing research conduct, critique, & utilization. (5th ed.). Missouri: Elsevier Saunders.
Erikssen, G. (2001). Physical fitness and change in mortality. Sports medicine, 31(8), 571-576.
Mhaopech, K., Choupanich, K., Lapho, P. & Teamtaokerd, W. (2012). Behaviors for Exercises of Personnel in Kasetsart University, Kampheangsaen Campus. (Full Report). Thai Health Promotion Foundation. (in Thai)
National Statistical Office. (2016). The 2015 Physical Activity survey. Bangkok.
Ningsanond, N. (2011). Simple Way to Make Life Easier…By Maneeveda. Journal of Srinakharinwirot University
(Science and Technology), 3(5), 1-13.
Panidchakul, K. & Samranbua, K. (2013). An Application of Transtheoretical Model to Promote Eexerciser. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhon ratchasima, 19(1), 66-76.
Prochaska, J.O., & Velicer, W.F. (1997). The transtheoretical model of health behavior chang. American Journal of Health Promotion, 12, 38-48.
Schwartz, N. E. (1975). Nutritional knowledge, attitude and practice of high school graduated. Journal of the American Dietetic Association, 66(1), 28-31.
Waiwannajith, S., Lungputaeh, P. Makeng, M. Sulong, W. & Kariyea, S. (2017). Muslim women’ s Social Space and Health Empowerment through Physical Activities amid Unrest Situation in Southernost Provinces (Phase 1). (Full report). Health Systems Research Institute (bright flavor.). (in Thai)
Wacharasin, S., Pakdeepinit, A., Arbsuwan, N. & Chamniyan, N. (2016). Health Behavior Change Program for nurses, chronic case managers. Bangkok: Office of the Royal Printing Service, Veterans Affairs Organization under Royal Patronage. (in Thai).
Yue Rae, K., Limchaiarunreaung, S., & Singchangchai, P. (2010). Promotion of physical activity according to Islamic principles Women’s groups in Pattani. AL-NUR Journal of college graduates, 9(5), 83-96.