การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร, การประเมินหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตร หลักสูตรปรับปรุง หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต, หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ.2559 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 232 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรได้แก่ บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต ได้แก่ พยาบาล ครูพี่เลี้ยง แพทย์ ศิษย์เก่า และคณาจารย์ทั้งในและนอกคณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 20 คน โดยอาศัยแบบจำลองแบบซิปป์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตครอบคลุมปัจจัยด้านบริบทของหลักสูตร ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของหลักสูตร มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .99, .98, 1.00, 1.00 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธ์ของครอนบาคเท่ากับ .95, .97, .98, .99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านบริบทของหลักสูตร คะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.31, S.D. = 0.63) ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.45, S.D. = 0.66)
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของอาจารย์ อยู่ในระดับมาก (X= 4.15, S.D. = 0.78 และนักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.34, S.D. = 0.66)
3. ด้านกระบวนการของหลักสูตร คะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกระบวนการของหลักสูตรเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.29, S.D. = 0.60)
4. ด้านผลผลิตของหลักสูตร คะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่จะสำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.83, S.D. = 0.38)
References
Chularut, P. (2018). Learning management for students in the Thailand 4.0 era. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 2363-2380.
Klommeck, J., Lortajakul, C., Eiamla-or, P., & Wongsasung, J. (2021). The evaluation of bachelor nursing science curriculum (revised in 2017), Mission Faculty of Nursing, Asia-Pacific International University. APHEIT Journal of Nursing and Health, 3(1), 16-31.
Kooariyakul, A., Chidnayee, S., Wuttijurepan, A., Udomleard, M., Lortamma, P., & Sripalakich, J. (2017). The evaluation of the Bachelor of Nursing Curriculum revised edition 2012. Boromarajonani College of Nursing Uttradit Journal, 9(1), 44-58.
Ministry of Education. (2010). The National Education Act, B.E. 2553. Bangkok: Soupaisallaw printing. (in Thai).
Patphol, M. (2019). Concept of curriculum development. Bangkok: Innovative Leaders Center of Curriculum and Learning. (in Thai).
Poonchai, S., Arayathanitkul, B., Meeparn, A., Indhratana, A., Untaja, P., Prasittivejchakul, A., & Chewsothon, S. (2019). An evaluation of the bachelor science in nursing curriculum (revised. B.E.2555) of the Royal Thai Army nursing college. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(2), 380-389.
Ritudom, B. (2017). An Evaluation of the Bachelor of Nursing Science Curriculum (Revised curriculum, 2012), RoyalThai AirForce Nursing College. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 18(2), 203-211.
Ruengrong, P., Jiravarapong, B., Manyum, W., Somyaron, W., Muendet, S., & Srisurat, C. (2014). Educational technology VS Thai teachers in 21st Century. Panyapiwat Journal, 5(1), 195-205.
Stufflebeam, D.L., & Zhang, G. (2017). The CIPP evaluation model: How to evaluate for improvement and accountability. Guilford Publications.
Thailand Nursing and Midwifery Council (2010). Competencies of Registered Nurse. Bangkok: Siriyod Printing Press. (in Thai).
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.