การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคเลบโตสไปโรซีส อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

อรนุช นรารักษ์

ผู้แต่ง

  • อรนุช นรารักษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล
  • นุสรีย์ ปะดุกา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล
  • ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวัง, โรคเลบโตสไปโรซีส, กูเกิ้ลแอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคเลบโตสไปโรซีส ดำเนินการในเดือนมกราคม-กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ในพื้นที่อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
มี 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพการณ์และปัญหาการดำเนินงานเฝ้าระวัง  ป้องกันและควบคุมโรคเลบโตสไปโรซีส 2) การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรค และ 3) การประเมินประสิทธิผลระบบเฝ้าระวังโรคเลบโตสไป
โรซีส เครื่องมือที่ใช้เป็นแอปพลิเคชัน ได้แก่ Google form และ Google sheet ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แอปพลิเคชัน ที่ง่ายต่อการรายงานและเข้าถึงข้อมูล ซึ่งสามารถแชร์และเข้าถึงได้บนเว็บไซต์ การแสดงผลแบบ real time ระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ นำไปประกอบการวางแผนดำเนินมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว บุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขตลอดจนผู้เกี่ยวข้องพึงพอใจและเห็นประโยชน์ของระบบที่พัฒนาขึ้นในระดับสูง ผลการประเมินระบบเฝ้าระวัง พบว่า มีผู้ป่วยที่ถูกรายงานด้วยโรคเลบโตสไปโรซีส จำนวน 31 ราย พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ตามนิยาม  เฝ้าระวังโรค จำนวน 28 ราย และพบว่ามีผู้ป่วยที่ตรงตามนิยามและรายงาน 506 จำนวน 27 ราย คำนวณค่าความไวของระบบเฝ้าระวัง ได้ร้อยละ 96.42 และค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 90.32 ความครบถ้วน และความถูกต้องของข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ดี ความทันเวลาร้อยละ 77.77 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบเฝ้าระวังโรคเพื่อนำไปสู่การวางแผนในการป้องกันโรคเพิ่มขึ้น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรนำระบบเฝ้าระวังนี้ ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคเลบโตสไปโรซีส ในพื้นที่อำเภออื่นต่อไป

References

Azfar, Z.M., Nazri, S.M., Rusli, A.M., Maizurah, O., Zahiruddin, W.M., Azwany, Y.N., & Aziah, B.D. (2018). Knowledge, attitude and practice about leptospirosis prevention among town service workers in northeastern Malaysia: a cross sectional study. Journal of preventive medicine and hygiene,59(1), E92.

Best, J.W. (1977). Research in Education. ( 3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall; 1977

Bloom, B.S., Hastings, J.T., & Madaus, G.F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill;

Calero, M.L., & Monti, G. (2022). Assessment of the current surveillance system for human leptospirosis in ecuador by decision analytic modeling. Front Public Health, 10, 711938. DOI: 10.3389/fpubh.2022.711938

Chadsuthi, S., Chalvet-Monfray, K., Geawduanglek, S., Wongnak, P., & Cappelle, J. (2022) Spatial–temporal patterns and risk factors for human leptospirosis in Thailand, 2012–2018. Scientific Reports, 12, 5066. DOI: 10.1038/s41598-022-09079-y

Department of Disease Control, Ministry of Public Health (2005). Leptospirosis Academic Manual, Bangkok: War Veterans Organization Printing House. (in Thai).

Dung, L.P., Mai, T.N., Hanh, N.T., Than, P.D., Quyet, N.T., Hai, H., & Anh, D.D. (2022). Characteristics of human leptospirosis in three different geographical and climatic zones of Vietnam: a hospital-based study. International Journal of Infectious Diseaswes, 120, 113 - 120.

Jittimanee, J., & Wongbutdee, J. (2019). Prevention and control of leptospirosis in people and surveillance of the pathogenic Leptospira in rats and in surface water found at villages. Journal of Infection and Public Health, 12(5), 705 - 711.

Junsawang, P., Namwong, T., & Pholkhaew, N. (2019). Development of Surveillance System among Human Rabies Exposure in Community. Thai-Charoen District, Yasothon Province. (in Thai).

Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1988). The action research planner Victoria. Deakin University press;

Kuder, G.F., & Richardson, M.W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151 - 160;

Namwong, T., Saengpak, M., Duangkaew, J., Khampat, S., & Jankeaw, S. (2019). The development of a database system. Caution in epidemiology and monitoring system for dengue fever control measures 3-3-1 using Google Drive, Yasothon Province. Journal of Health Science, 28(3), 402 - 10.

Namwong, T., Saengpak, M., Thanapathomsinchai, P., Duangkaew, J., Khampat, S., Wisitphachonchai, P., Pratchayakhup, P. (2021).

Development of COVID-19 Surveillance System, Yasothon Province, Disease Control Journal, 47 (Suppl 2). DOI: 10.14456/dcj.2021 .102

Prompunjai, N., Saelim, W., Auitpol, T., & Simmatan, S. (2021). The effectiveness of using line application network in leprosy case detection among Village Health Volunteers (VHVs) in Health Region 7. Disease Control Journal, 47(3), 621 – 631. DOI: 10.14456/dcj. 2021.55

Sykes, J.E., Reagan, K.L., Nally, J.E., Galloway, R.L., & Haake, D.A. (2022). Role of diagnostics inepidemiology, management, surveillance, and control of leptospirosis. Pathogens, 11(4), 395.

Thaewnongiew, K., Promthet, S., Nilvarangkul, K., Rangsin, R., Phitak, P., & Sarakarn, P. (2009). The surveillance system in health centers in northeastern Thailand, Japanese Journal of Infectious Diseases, 62(6), 444 - 449.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-15

How to Cite

นรารักษ์ อ., ปะดุกา น., & ดิษสุวรรณ์ ธ. (2024). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคเลบโตสไปโรซีส อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล: อรนุช นรารักษ์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 16(1), 150–167. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/260966

ฉบับ

บท

บทความวิจัย