ฤทธิ์ของสารสกัดสะตอในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส และแอลฟากลูโคซิเดส

ผู้แต่ง

  • วนิตา ปานทอง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • อรอนงค์ สมทรัพย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • เพ็ญพร สูจิวัฒนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

แอลฟาอะไมเลส, แอลฟากลูโคซิเดส, สารสกัดสะตอ, การยับยั้งเอนไซม์

บทคัดย่อ

สะตอ (Parkia speciosa Hassk) พืชที่นิยมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย
สารสกัดจากผลสะตอมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ศึกษาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งของสะตอต่อการทำงานของเอนไซม์แอลฟา
อะไมเลส และแอลฟากลูโคซิเดสยังไม่แพร่หลาย ซึ่งเอนไซม์ทั้ง 2 ชนิดมีบทบาทสำคัญต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่งผลต่อการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้นในงานวิจัยนี้สนใจศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากผลสะตอด้วยวิธีการสกัด 4 ประเภท ต่อการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ดังกล่าว ผลการทดลองพบว่า สารสกัดด้วยวิธี 50 % เอทานอลสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสได้ดีที่สุดร้อยละ 96.65 ± 6.58 และมีค่า IC50 เท่ากับ 0.42 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งยับยั้งได้ดีกว่าสารมาตรฐานอะคาร์โบส อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) การทดสอบการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสจากลำไส้หนู พบว่าสารสกัดจากผลสะตอมีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ได้น้อย การทดสอบเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสจาก Saccharomyces cerevisiae พบว่าสารสกัดด้วยวิธี 100 % เอทานอลสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ดีที่สุดร้อยละ 27.67 ± 2.38 ที่ความเข้มข้นของเอนไซม์ 0.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อเทียบกับอะคาร์โบสอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ฤทธิ์ของสารสกัดจากผลสะตอสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทั้ง 2 ชนิดได้ งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อการวิจัยทางด้านอาหารเสริม และส่งเสริมการบริโภคในรูปแบบแพทย์ทางเลือกพร้อมทั้งการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

References

Azliza, M.A., Ong, H.C., Vikineswary, S., Noorlidah, A., & Haron, N.W. (2012). Ethno- Medicinal Resources Used by the Temuan in Ulu Kuang Village. Ethno Medicine, 6(1), 17 - 22. http://doi.org/10.1080/09735070.2012.11886415

Chalopagorn, P., & Klomsakul, P. (2017). α–Amylase and α–Glucosidase Inhibitory Activities of Ceasalpinia sappan, Ficus foveolata and Eurycoma longifolia Extracts. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Science and Technology), 12(1), 63 – 73. https://li01.tci-thaijo.org/index. php/PRRJ_Scitech/article/view/67254

Connolly, A., Piggott, C.O., & FitzGerald, R.J. (2014). In Vitro α-Glucosidase, Angiotensin Converting Enzyme and Dipeptidyl Peptidase-IV Inhibitory Properties of Brewers' spent Grain Protein Hydrolysates. Food Research International, 56, 100 - 107. https://doi.org/10. 1016/j.foodres.2013.12.021

Kamisah, Y., Othman, F., Qodriyah, H.M.S., & Jaarin, K. (2013). Parkia speciosa Hassk.: A Potential Phytomedicine. Evid Based Complement Alternat Med, 709028. https://doi.org/10.1155/ 2013/709028

Karnjanapiboonwong, A. (2020). Situation of non-communicable diseases according to Thailand's 9 global goals. In Karnjanapiboonwong, A., Khamwangsanga, P., & Kaewtha, S. (Eds.), Report on the NCDs disease situation diabetes, high blood pressure and related risk factors 2019 (pp. 15-31). PARBPIM Ltd.

Laya, A., Koubala, B.B., & Negi, P.S. (2022). Antidiabetic (α-Amylase and α-Glucosidase) and Anti-Obesity (Lipase) Inhibitory Activities of Edible Cassava (Manihot esculenta Crantz) as Measured by In Vitro Gastrointestinal Digestion: Effects of Phenolics and Harvested Time. International Journal of Food Properties, 25, 492 - 508. https://doi.org/10.1080/10942912. 2022.2050256

Luyen, N.T., Tram, L.H., Hanh, T.T.H., Binh, P.T., Dang, N.H., Minh, C.V., & Dat, N.T. (2013). Inhibitors of α-Glucosidase, α-Amylase and Lipase from Chrysanthemum morifolium. Phytochemistry Letters, 6(3), 322 - 325. https://doi.org/10.1016/j.phytol.2013.03.015

Manoon, S. (1988). Sator. Agricultural base Printing.

Narathiwat Provincial Statistical Office. (2023). Narathiwat Provincial Statistical. Author

Pantong, W., Somsap, O., Kamnate, A., Ekchaweng, K., Obchoei, S., & Saeheng, S. (2024). Analyzing the Antibacterial, Anticancer, and Antioxidant Qualities of the Stink Bean (Parkia speciose) by Various Extraction Techniques. Trends in Sciences, 21(9), 7994. https://doi.org/ 10.48048/tis.2024.7994

Rozaq, P., & Sofriani, N. (2009). Organic Pesticide from Urine and Spices Modification. Asian Journal of Food and Agro-Industry, Special Issue, 105 -111. https://typeset.io/papers/organic-pesticide-from-urine-and-spices-modification-5bn4igqh1x

Samuel, A.J.S.J, Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H.A., & Promwichit, P. (2010). Ethnomedical Survey of Plants Used by the Orang Asli in Kampung Bawong, Perak, West Malaysia. Journal of Ethnobiology and Ethnomedicine, 6, 1 - 5. https://doi.org/10.1186/1746-4269-6-5

Sangchan, A. (2018). Inhibitory Effect of Thai Vegetable Extracts on Activity of Lipase, Alpha-Amylase, Trypsin and Alcohol Dehydrogenase [Master’s Thesis]. Burapha University. https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56910052.pdf

Sungkhachart, K. (2019) Area-based and people-centered management of non- communication chronic disease. PARBPIM Ltd.

Tunsaringkarn, T., Rungsiyothin, A., & Ruangrungsi, N. (2008). α-Glucosidase Inhibitory Activity of Thai Mimosaceous Plant Extracts. Journal of Health Research, 22(1), 29 – 33. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/155555

Tunsaringkarn, T., Rungsiyothin, A., & Ruangrungsi, N. (2009). α-Glucosidase Inhibitory Activity of Water-Soluble Extract from Thai Mimosaceous Plants. The Public Health Journal of Burapha University, 4(2), 54 - 63. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/ 45607

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-13

How to Cite

ปานทอง ว., สมทรัพย์ อ., & สูจิวัฒนารัตน์ เ. (2024). ฤทธิ์ของสารสกัดสะตอในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส และแอลฟากลูโคซิเดส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 16(3), 301–315. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/263168