การพัฒนาเทคนิค ELISA เพื่อวัดปริมาณฮีโมไซยานินในฮีโมลิมฟ์ของกุ้งแชบ๊วย

Authors

  • อาจรีย์ เจียวก๊ก
  • พรรณี อัศวตรีรัตนกุล
  • ประภาพร อุทารพันธุ์

Abstract

ฮีโมไซยานินเป็นโปรตีนที่มีคอปเปอร์เป็นองค์ประกอบ พบมากในฮีโมลิมฟ์ของมอลลัส และ
อาร์โธรพอด ฮีโมไซยานินถูกพบเป็นสารตั้งต้นของสายเปปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และถูกเปลี่ยนไปเป็นเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสโดยการกระตุ้นด้วยโซเดียมโดเดซิลซัลเฟต (Sodium dodecyl sulphate, SDS) เนื่องจากเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของครัสเตเชียน ดังนั้นฮีโมไซยานินน่าจะมีบทบาทเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันด้วย ในงานวิจัยนี้ได้ทำบริสุทธิ์ฮีโมไซยานินจากฮีโมลิมฟ์ของกุ้งแชบ๊วยด้วยวิธีอัลตราเซนตริฟิวจ์และโพลีอะคริลาไมด์เจลอิเล็กโทรฟอรีซิส (PAGE) แบบเตรียม ฮีโมไซยานินบริสุทธ์ปรากฏโปรตีน 1 แถบ ใน PAGE แบบไม่แปลงสภาพ และมีหน่วยย่อย 2 ขนาดคือ 75 และ 79.4 kDa ใน SDS-PAGE แอนติบอดีที่ได้สังเคราะห์ต่อฮีโมไซยานินบริสุทธิ์ในกระต่าย พบว่ามีความจำเพาะสูงต่อฮีโมไซยานินในฮีโมลิมฟ์และถูกใช้ในการพัฒนาเทคนิค ELISA  ให้มีความไวสูง โดยสามารถวัดฮีโมไซยานินที่มีปริมาณต่ำถึง 10 นาโนกรัมได้ จากการวิเคราะห์โดยวิธี ELISA พบปริมาณฮีโมไซยานินคิดเป็น 85.67% ของโปรตีนทั้งหมดในฮีโมลิมฟ์ของกุ้งแชบ๊วยปกติ และเมื่อฉีดกุ้งด้วยแบคทีเรียก่อโรค พบว่าฮีโมไซยานินในฮีโมลิมฟ์มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนมีค่าสูงสุดที่ 12 ชั่วโมง หลังการฉีด บ่งชี้ว่าฮีโมไซยานินถูกกระตุ้นให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นและอาจเกี่ยวข้องในระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งเพื่อตอบสนองต่อแบคทีเรียก่อโรค

คำสำคัญ: ฮีโมไซยานิน ฟีนอลออกซิเดส กุ้งแชบ๊วย ระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง

Downloads

Published

2015-12-29

How to Cite

เจียวก๊ก อ., อัศวตรีรัตนกุล พ., & อุทารพันธุ์ ป. (2015). การพัฒนาเทคนิค ELISA เพื่อวัดปริมาณฮีโมไซยานินในฮีโมลิมฟ์ของกุ้งแชบ๊วย. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/52659

Issue

Section

บทความวิจัย