จีโอพอลิเมอร์ดินขาวเผา

Authors

  • อาบีเด็ง ฮาวา
  • วรพจน์ ประชาเสรี

Abstract

ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในประเทศอินเดีย จีน และประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย เป็นสาเหตุของการเกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การพัฒนาวัสดุประสานชนิดใหม่เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมนอกเหนือจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดยใช้โซเดียมซิลิเกตและโซเดียมไฮดรอกไซด์ได้รับการยอมรับจากนักวิจัยจำนวนมาก จีโอพอลิเมอร์ดินขาวเผาเป็นวัสดุที่น่าสนใจนำมาใช้ในงานวิศวกรรมโยธาและประยุกต์เข้ากับงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน บทความนี้ได้นำเสนอผลกระทบจากตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อสมบัติทางวิศวกรรมของจีโอพอลิเมอร์ดินขาวเผาจากผลการทดสอบพบว่าการเผาดินขาวที่อุณหภูมิ 700–900 องศาเซลเซียสกับอัตราส่วนโดยโมลาร์ SiO2/Al2O3 ที่อยู่ในช่วง 3–5 และอัตราส่วนของเหลวต่อของแข็งที่ 0.8 สามารถทำให้จีโอพอลิเมอร์ก่อตัวได้อย่างความเหมาะสม

คำสำคัญ: โซเดียมซิลิเกต โซเดียมไฮดรอกไซด์ จีโอพอลิเมอร์ ดินขาวเผา

Downloads

Published

2015-12-29

How to Cite

ฮาวา อ., & ประชาเสรี ว. (2015). จีโอพอลิเมอร์ดินขาวเผา. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/52666