ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมตนเอง ความเครียดกับสมดุลชีวิตของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
Abstract
การวิจัยแบบบรรยายเชิงสหสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมตนเอง ความเครียดกับสมดุลชีวิตของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่และโรงพยาบาลสงขลา จำนวน 200 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการควบคุมตนเอง 3) แบบสอบถามการรับรู้ความเครียด และ 4) แบบสอบถามสมดุลชีวิตซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ 0.86, 0.78 และ 0.78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า ระดับของการควบคุมตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอยู่ในระดับปานกลาง (x= 80.07, S.D. = 10.91) ระดับของความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (x = 25.50, S.D. = 4.70) และระดับของสมดุลชีวิตอยู่ในระดับสูง (x= 87.86, S.D. = 12.43) การควบคุมตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับสมดุลชีวิตของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .15, p< .05) และความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับสมดุลชีวิตของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.43, p< .01) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นให้มีชีวิตที่สมดุลต่อไป
คำสำคัญ : การควบคุมตนเอง ความเครียด สมดุลชีวิตหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
Downloads
Published
2015-09-13
How to Cite
สุวรรณเรืองศรี ส., ชูนวล โ., & ชัชเวช ว. (2015). ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมตนเอง ความเครียดกับสมดุลชีวิตของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/52669
Issue
Section
Research Articles