ปัจจัยด้านผู้ปกครองที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนราธิวาส
Abstract
การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านผู้ปกครองที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองและนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตพื้นที่การศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ตามคุณสมบัติที่กำหนด 85 คู่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของนักเรียน 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครอง 3) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ 4) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค 5) แบบสอบถามการควบคุม และ 6) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ประโยชน์ของผู้ปกครองต่อการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียน การรับรู้อุปสรรคของผู้ปกครองต่อการจัดเตรียมอาหารเช้าให้นักเรียน การควบคุมของผู้ปกครองต่อการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียน และพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของผู้ปกครองสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนได้ร้อยละ 30.7 (R2 = .307, F = 8.866, p < .01) และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของผู้ปกครอง (? = .524, t = 5.502, p < .01) จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองเป็นแบบอย่างในการบริโภคอาหารเช้าให้กับนักเรียน โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารเช้า เสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการบริโภคอาหารเช้าแก่ผู้ปกครอง และสนับสนุนให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้บริโภคอาหารเช้าร่วมกัน
คำสำคัญ : พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้า การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ประโยชน์ นักเรียน
Downloads
Published
2015-09-13
How to Cite
ชัวชมเกตุ ณ., แสงเพิ่ม พ., & ประสบกิตติคุณ ท. (2015). ปัจจัยด้านผู้ปกครองที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนราธิวาส. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/52670
Issue
Section
Research Articles