ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555 ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษา อาจารย์ และผู้ใช้บริการที่เป็นพยาบาล จำนวน 170 คน เลือกสุ่มแบบแบ่งชั้นและแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับผลลัพธ์การเรียนรู้และโครงสร้างหลักสูตรที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 และ 0.99 และเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม 2554 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรในทุกด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (2) ความรู้ (3) ทักษะทางปัญญา (4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (5) ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (6) ทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก ส่วนโครงสร้างหลักสูตร แผน ก. พบว่า นักศึกษา อาจารย์ และผู้ใช้บริการที่เป็นพยาบาล ส่วนใหญ่มีความคิดที่เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ 92.64 87.84 และ 66.25 ตามลำดับ และโครงสร้างหลักสูตร แผน ข. พบว่า นักศึกษา อาจารย์ และผู้ใช้บริการที่เป็นพยาบาล ส่วนใหญ่มีความคิดที่เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ 89.87 80.43 และ 66.67 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องที่อาจนำไปใช้ในการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตต่อไป
คำสำคัญ : การปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์การเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร ความคิดเห็น
Downloads
Published
2015-09-13
How to Cite
ทัศศรี จ. (2015). ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/52675
Issue
Section
Research Articles