การฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้นต่อสัมฤทธิ์ผลในการปฏิบัติตามหลักเกษตรอินทรีย์

Authors

  • จำนงค์ จุลเอียด

Abstract

 การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา สภาพพื้นฐานของเกษตรกร ระดับความเหมาะสมของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม เพื่อศึกษาสัมฤทธิ์ผลในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติของผู้รับการฝึกอบรม และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการฝึกอบรม กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 120 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย นับถือศาสนาพุทธ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.96 คน เคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนี้มาก่อนจากกรมส่งเสริมการเกษตร ในการดำเนินกิจกรรมเกษตรใช้เงินทุนส่วนตัว ใช้แรงงานในครอบครัว โดยมีที่ดินประกอบการเกษตรเฉลี่ย 9.49 ไร่ และรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 40,767.50 บาท/ปี ส่วนระดับ ความเหมาะสมของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม ระดับความเหมาะสมของความรู้ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ พบว่า โดยเฉลี่ยเกษตรกรมีความเห็นว่า อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดและไม่มีปัญหาในการฝึกอบรม และในส่วนของการติดตามผลผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม แล้วนำความรู้ที่ได้รับไปดำเนินกิจกรรมตามหลักเกษตรอินทรีย์ พบว่ามีการทำนาอินทรีย์แบบครบวงจร ปลูกผักปลอดสารพิษ การสกัดสารชีวภาพ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และยังลดรายจ่ายจากการซื้อสารเคมีจากท้องตลาดเฉลี่ยรายละไม่ต่ำกว่า 500 บาทต่อเดือน และได้ขยายผลสู่กลุ่มเกษตรกรที่สนใจเพิ่มขึ้นจำนวน 2 เครือข่าย สรุปผลการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้นมีผลต่อการเรียนรู้เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มมูลค่าผลผลิต สร้างรายได้ลดรายจ่ายให้แก่เกษตรกรหลังการฝึกอบรมและมีข้อเสนอแนะคือ ควรฝึกอบรมรมหลักสูตรวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้นตามหลักเกษตรอินทรีย์เพิ่มเติม
คำสำคัญ : การฝึกอบรมเกษตรกร, หลักสูตรวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น, หลักเกษตรอินทรีย์

Downloads

Published

2011-09-14

How to Cite

จุลเอียด จ. (2011). การฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้นต่อสัมฤทธิ์ผลในการปฏิบัติตามหลักเกษตรอินทรีย์. Princess of Naradhiwas University Journal, 1(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53640