วัสดุมวลเบาที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง
Abstract
การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในงานอุตสาหกรรมด้านอิฐก่อผนังเพื่องานก่อสร้างทำให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยได้คิดค้นด้านวัสดุก่อสร้างที่เรียกว่า วัสดุมวลเบา โดยเฉพาะ อิฐมวลเบา จากการศึกษาเอกสารพบว่า อิฐมวลเบา เป็นพัฒนาการต่อยอดจากอิฐมอญหรืออิฐแดงซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมอย่างสูงและเป็นทางเลือกใหม่ในงานก่อสร้างเนื่องจากอิฐมวลเบามีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากอิฐชนิดอื่นๆ อิฐมวลเบาแบ่งตามกระบวนการผลิต ได้ 2 ระบบ คือ ระบบที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง ( Non- Autoclaved System ) กับ ระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง ( Autoclaved System ) ปัจจุบันอิฐมวลเบามีส่วนผสมจากธรรมชาติ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ทราย ปูนขาวยิปซั่ม น้ำและสารกระจายฟองอากาศ เป็นต้น ซึ่งมีส่วนผสมพิเศษในอัตราที่เป็นสูตรเฉพาะตามขนาดของอิฐมวลเบา ตั้งแต่ความหนา 7.5, 10.0, 12.5, 15.0, และ 20.0 ซม. กว้าง 20 ซม. และยาว 60 ซม. อิฐมวลเบามีน้ำหนักเบา เนื่องจากมีฟองอากาศถึง 75% มีลักษณะเป็น closed cell ไม่ดูดซึมน้ำ หรือดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ 4 เท่าป้องกันความร้อนได้ดี ค่าความต้านทานความร้อนดีกว่าคอนกรีตบล็อก 4 เท่า ดีกว่าอิฐมอญ 6-8 เท่า มีความคงทน ไม่ติดไฟ สามารถทนไฟได้ถึง 1,100 องศาเซลเซียส นาน 4 ชั่วโมง กันเสียงได้ดี ปัจจุบันราคาอิฐมวลเบา ตารางเมตรละ 200-430 บาท ค่าวัสดุบวกค่าแรงงานต่อตารางเมตร อิฐมวลเบา ขนาดความหนา 10 ซม.ราคาเฉลี่ยประมาณ 360-400 บาท ส่วนอิฐมอญก่อ 2 ชั้น ( เว้นช่องว่างตรงกลาง ) ราคา ประมาณ400 - 420 บาท/ตรม. นอกจากนี้อิฐมวลเบาได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยมีการนำวัสดุจากธรรมชาติและวัสดุเหลือใช้นำมาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งแนวโน้มการใช้อิฐมวลเบาในด้านการก่อสร้างในประเทศไทยจะแพร่หลายมากขึ้นคำสำคัญ : วัสดุมวลเบา อุตสาหกรรมก่อสร้าง วัสดุเหลือใช้
Downloads
Published
2011-09-14
How to Cite
ดอเล๊าะ น. (2011). วัสดุมวลเบาที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง. Princess of Naradhiwas University Journal, 1(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53653
Issue
Section
Academic Articles