ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต่อความรู้และการพัฒนาผู้เรียนในรายวิชาพยาธิสรีรวิทยาสำหรับนักศึกษาพยาบาล
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต่อความรู้และการพัฒนาผู้เรียนทั้ง ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะทางสังคมด้านการพัฒนาตนเอง และด้านการยอมรับความเท่าเทียมกัน ในรายวิชาพยาธิสรีรวิทยา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ ปีการศึกษา 551 จำนวน 106 คนเครื่องมือการวิจัยแบ่งเป็น ชุด ได้แก่ (1) แบบทดสอบความรู้รายวิชาพยาธิสรีรวิทยา และ (2) แบบสอบถามการพัฒนาของผู้เรียน ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยมีค่าสัมประสิทธิแอลฟาครอนบาคเท่ากับ .77 ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการจัดการเรียนการสอนทั้ง 5 รูปแบบ ได้แก่ การบรรยายเชิงอภิปราย การอภิปรายกลุ่ม กรณีศึกษาผังความคิด และการเรียนแบบร่วมมือ คะแนนการพัฒนาผู้เรียนภาพรวมทั้ง ด้านของนักศึกษาอยู่ในระดับสูง โดยรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ( X = .74, SD. = 6.13 ) และรูปแบบการบรรยายเชิงอภิปรายมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ( X = .68, SD. = 12 .58) เมื่อจำแนกการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายด้านพบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะทางสังคมสูงที่สุดจากการสอนด้วยรูปแบบการบรรยายเชิงอภิปราย ( X = .81 , SD.= 5.91 ) ส่วนด้านการพัฒนาตนเองและด้านการยอมรับความเท่าเทียมกันสูงที่สุดจากการสอนด้วยรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ ( X = .73 , SD = 5.57 และ X = .76, SD. = 7.3 5 ตามลำดับ) นอกจากนี้พบว่าคะแนนความรู้เฉลี่ยของนักศึกษาหลังการจัดการเรียนการสอนทั้ง 5 รูปแบบสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 จากผลการศึกษาผู้สอนอาจจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเพิ่มเติมการนำรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา และปรับรูปแบบการบรรยายเชิงอภิปรายให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนในด้านการพัฒนาตนเองมากขึ้น
คำสำคัญ : การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาผู้เรียน นักศึกษาพยาบาล
Downloads
Published
2011-09-15
How to Cite
ทองเนื่อง พ. (2011). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต่อความรู้และการพัฒนาผู้เรียนในรายวิชาพยาธิสรีรวิทยาสำหรับนักศึกษาพยาบาล. Princess of Naradhiwas University Journal, 2(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53658
Issue
Section
Research Articles