การวิเคราะห์ผลกระทบการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงต่อการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ สูบเดียว

Authors

  • เนรมิตร กระแสร์ลม

Abstract

 ในการวิจัยได้นำเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ สูบเดียว มาลดอัตราส่วนการอัดเหลือ 11:1 และติดตั้งระบบจุดระเบิดที่ใช้ประกายไฟจากหัวเทียนและระบบจ่ายเชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลวเข้ากับเครื่องยนต์ จากนั้นนำเครื่องยนต์ไปทดสอบหาสมรรถนะเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ดีเซล และทดสอบการสึกหรอของเครื่องยนต์เป็นเวลา 500 ชั่วโมง จากนั้นนำตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วที่ 50 และ100 ชั่วโมง จนครบ 500 ชั่วโมง มาวิเคราะห์หาสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และตรวจการสึกหรอของหน้าสัมผัสวาล์วกับบ่าวาล์ว แหวนลูกสูบ ลูกสูบและกระบอกสูบ โดยการวัดขนาดชิ้นส่วน
 ผลการวิจัยปรากฏว่าเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้ค่าแรงบิดและกำลังงานต่ำกว่าเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ดีเซลอยู่ 3% และ 22% ตามลำดับ ซึ่งการสึกหรอที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ทั้งสองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งจากการวัดขนาดชิ้นส่วนและการวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่นยกเว้นระยะจมวาล์วไอเสียที่สูงกว่าประมาณ 30%  ดังนั้นควรมีการปรับปรุงวัสดุทำบ่าวาล์วไอเสียเพื่อลดระยะจมวาล์วและเพิ่มอัตราส่วนการอัดเพื่อเพิ่มสมรรถนะเครื่องยนต์
คำสำคัญ : การสึกหรอ เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะสูบเดียว ก๊าซปิโตรเลียมเหลว

Downloads

Published

2011-09-15

How to Cite

กระแสร์ลม เ. (2011). การวิเคราะห์ผลกระทบการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงต่อการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ สูบเดียว. Princess of Naradhiwas University Journal, 2(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53678