ผลของการใช้น้ำสกัดจากเปลือกสะเดาในการกำจัดพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหารของแพะ
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้น้ำสกัดจากเปลือกสะเดาในการกำจัดพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหารของแพะ กลุ่มตัวอย่างเป็นแพะลูกผสมพื้นเมืองไทย x แองโกลนูเบียน 50 เปอร์เซ็นต์ เพศเมีย อายุระหว่าง 6 - 8 เดือน น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย 14.55 +0.83 กิโลกรัม จำนวน 32 ตัว ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด( Completely Randomized Design: CRD ) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว โดยวิธีการดังนี้ 1) ยาเลวามิโซลปริมาณ 5 มิลลิกรัม./น้ำหนักแพะ 1 กิโลกรัม. 2) น้ำสกัดจากเปลือกสะเดาปริมาณ 2 มิลลิลิตร /น้ำหนักแพะ 1 กิโลกรัม. 3) น้ำสกัดจากเปลือกสะเดาปริมาณ 3 มิลลิลิตร/น้ำหนักแพะ 1 กิโลกรัม. 4) น้ำสกัดจากเปลือกสะเดาปริมาณ 4 มิลลิลิตร/น้ำหนักแพะ 1 กิโลกรัม แพะได้รับน้ำสกัดจากเปลือกสะเดาโดยวิธีการกรอกปาก ส่วนยาถ่ายพยาธิเลวามิโซลใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อและนับไข่พยาธิจากมูลแพะ หลังจากให้ยาหรือน้ำสกัดจากเปลือกสะเดาในวันที่ 3, 7, 14, 21, 28 และ 35 วัน พบว่าหลังจากแพะได้รับยาหรือน้ำสกัดจากเปลือกสะเดาไปแล้ว 3, 7, 14, 21, 28 และ 35 วัน จำนวนไข่พยาธิในมูลลดน้อยลง โดยแพะที่ได้รับยาลาวามิโซลมีจำนวนไข่พยาธิลดน้อยลงกว่าแพะที่ได้รับน้ำสกัดจากเปลือกสะเดา ทั้ง 3 กลุ่ม ( p<0.05 ) แต่แพะที่ได้รับน้ำสกัดจากเปลือกสะเดาทั้ง 3 กลุ่ม มีจำนวนไข่พยาธิไม่แตกต่างกันทางสถิติ( p>0.05 ) อย่างไรก็ตามแพะที่ได้รับน้ำสกัดจากเปลือกสะเดาในปริมาณ 3 มิลลิลิตร. เป็นเวลา 21 วัน มีจำนวนไข่พยาธิน้อยที่สุด แต่เมื่อให้แพะได้รับยาเลวามิโซลหรือน้ำสกัดจากเปลือกสะดาทั้ง 3 กลุ่มเป็นเวลา 28 และ 35 วัน ทำให้จำนวนไข่พยาธิเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการใช้น้ำสกัดจากเปลือกสะเดาในการกำจัดพยาธิในระบบทางเดินอาหารของแพะ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรคำสำคัญ : แพะลูกผสม พยาธิตัวกลม น้ำสกัดสมุนไพรเปลือกสะเดา
Downloads
Published
2011-09-15
How to Cite
ลิ้มเจริญ ส. (2011). ผลของการใช้น้ำสกัดจากเปลือกสะเดาในการกำจัดพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหารของแพะ. Princess of Naradhiwas University Journal, 2(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53680
Issue
Section
Research Articles