การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโรคความดันโลหิตสูงประจำสถานีอนามัยและโรงพยาบาล จำนวน 8 คน ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคความดันโลหิตสูงของสถานีอนามัยและโรงพยาบาล จำนวน 12 คน ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ระยะที่ 2 การพัฒนาโครงร่างรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง โดยการสร้างโครงร่างรูปแบบกิจกรรมและเครื่องมือประกอบการใช้กิจกรรม แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและนำไปศึกษานำร่องกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของสถานีอนามัยบ้านใหม่ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส จำนวน 5 คน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของสถานีอนามัยบ้านสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง แบบวัดความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงได้ค่า KR 20 เท่ากับ 0.74 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.80 และ 0.77 ตามลำดับ และระยะที่ 4 การประเมินและปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีอิสระ (t-test dependent)
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองของแบนดูรา 2 วิธี ดังนี้ การชักจูงด้วยคำพูด และประสบการณ์จากการกระทำของผู้อื่น และการสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่และผู้ดูแลผู้ป่วย และใช้แนวคิดการดูแลสุขภาพตนเองของโอเร็มมาเป็นแนวทางในการสร้างแบบวัดความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยกำหนดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ และผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง จากการเปรียบเทียบความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง มีการรับรู้ และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .01, และ .05 ตามลำดับ และจากการประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรม อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 93.33
คำสำคัญ : รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถ, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, การดูแลสุขภาพตนเอง
Downloads
Published
2011-09-15
How to Cite
สิริกุล เ., สร้อยเพชรเกษม ช., & ทัศศรี เ. (2011). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. Princess of Naradhiwas University Journal, 2(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53681
Issue
Section
Research Articles