การสร้างเสริมสุขภาพจิตของสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Abstract
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการสร้างเสริมสุขภาพจิตของสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบใน จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยใช้กรอบแนวคิดจากการทบทวนวรรณกรรมการสร้างเสริมสุขภาพจิต ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ซึ่งมีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์ แอลฟ่าครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า การสร้างเสริมสุขภาพจิตของสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X= 2.86, S.D. = 0.35) และมีการสร้างเสริมสุขภาพจิตในระดับมาก 3 ด้าน โดยด้านการสร้างความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X= 3.37, S.D. = 0.5) รองลงมา คือ ด้านการเผชิญปัญหาและการจัดการกับความเครียด (X= 3.12, S.D. = 0.52) และด้านการสร้างความแข็งแรงของร่างกาย (X= 2.85, S.D. = 0.62) ตามลำดับ ส่วนด้านการสร้างเสริมคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (X= 2.13, S.D. = 0.21) ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพจิตของสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ : การสร้างเสริมสุขภาพจิต สตรีผู้สูญเสียสามี สถานการณ์ความไม่สงบ
Downloads
Published
2011-09-16
How to Cite
อุดมลาภสกุล ส., อินทนนท์ ถ., & สุทธรังษี ว. (2011). การสร้างเสริมสุขภาพจิตของสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. Princess of Naradhiwas University Journal, 3(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53701
Issue
Section
Research Articles