เครื่องวัดไฟฟ้าดาร์สันวาร์มิเตอร์

Authors

  • สุรินทร์ พรหมชัย

Abstract

 ดาร์สันวาร์มิเตอร์เป็นเครื่องวัดไฟฟ้าที่ใช้วัดไฟฟ้ากระแสตรงสามารถแบ่งออกได้สองแบบคือ แบบขดลวดเคลื่อนที่ และแบบอาร์เมเจอร์ห้อยแขวนแถบโลหะเทาท์แบนด์ แสดงผลการทำงานอยู่ในรูปของเข็มชี้ที่บ่ายเบน โดยอาศัยหลักการทำงานของการผลักกันระหว่างสนามแม่เหล็กถาวรและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า การทำงานนั้นแม่เหล็กถาวรขั้วเหนือ (N) และขั้วใต้ (S) วางไว้ใกล้กัน ระหว่างกลางของขั้วแม่เหล็กทั้งสองมีขดลวดเคลื่อนที่พันอยู่บนแกน  และสามารถหมุนเคลื่อนที่รอบตัวเองได้อย่างอิสระ ทิศทางการบ่ายเบนหรือการเคลื่อนที่สามารถหาได้จากกฎมือซ้ายของเฟรมมิ่ง (Fleming’s Left Hand Rule) ที่ปลายของขดลวดเคลื่อนที่ออกมาภายนอกใช้เป็นจุดต่อจ่ายแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า
 โครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่องวัดไฟฟ้าแบบดาร์สันวาร์จะประกอบด้วย  แม่เหล็กถาวรรูปทรง  เกือกม้า เข็มชี้ ตำแหน่งปรับค่าศูนย์  สปริง ส่วนถ่วงน้ำหนัก  ปลายขั้วเหล็กเกือกม้า  ขดลวดเคลื่อนที่แกนและที่รองแกน และแถบโลหะเทาท์แบนด์ แรงบิดที่เกิดขึ้นขณะที่เครื่องวัดดาร์สันวาร์มิเตอร์ทำงานจะประกอบด้วยแรงบิด 3 แรงบิดคือ แรงบิดบ่ายเบน  แรงบิดควบคุม และแรงบิดหน่วง โดยในแรงบิดหน่วงนั้นจะมีขนาด 3 ขนาดด้วยกันคือ คริติคอลแดมพ์ จะมีขนาดที่พอเหมาะทำให้เข้มชี้เคลื่อนที่ไปแล้วหยุดนิ่งอยู่กับที่ได้อย่างรวดเร็วโดยที่เข็มชี้ไม่แกว่งไปมา โอเวอร์แดมพ์ จะมีขนาดที่มากเกินไปทำให้เข็มชี้เคลื่อนที่ได้ช้าโดยที่เข็มชี้แกว่งไปมา และอันเดอร์แดมพ์ จะมีขนาดที่น้อยเกินไปทำให้เข็มชี้เคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว  และเข็มชี้แกว่งไปมาไม่หยุดนิ่ง
 ความผิดพลาดในการใช้งานของเครื่องวัดไฟฟ้าดาร์สันวาร์มิเตอร์ สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น การเสียดสี ความร้อนในตัวมิเตอร์  สนามแม่เหล็กภายนอก  อุณหภูมิภายนอก เข็มชี้เคลื่อนจากศูนย์ปกติ  ลักษณะการวางเครื่องวัด  และที่สำคัญที่สุดคือผู้ใช้เครื่องวัด  ดังนั้นการใช้มิเตอร์ด้วยความระมัดระวังหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ย่อมทำให้การใช้งานเกิดความผิดพลาดน้อยลง และสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานได้มากขึ้น 
คำสำคัญ  :  เครื่องวัดไฟฟ้า,  ดาร์สันวาร์,  มิเตอร์

Downloads

Published

2011-09-16

How to Cite

พรหมชัย ส. (2011). เครื่องวัดไฟฟ้าดาร์สันวาร์มิเตอร์. Princess of Naradhiwas University Journal, 3(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53706