อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร)
Abstract
เขตพื้นที่คาบสมุทรสยามหรือคาบสมุทรมลายู เดิมเคยเป็นเขตอำนาจการปกครองของอาณาจักรเก่าแก่ที่นักประวัติศาสตร์ได้ศึกษาไว้มี ๔ อาณาจักร คือ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชนคร เป็นรากฐานสำคัญในความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนา การศึกษา การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และศิลปะและวัฒนธรรม ดินแดนไทยภาคใต้หรือสยามไทยภาคใต้ ตามพรลิงค์ เป็นชื่อแรกที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดี ศิลาจารึก เอกสารเก่าทั้งไทยและต่างประเทศ เมืองใหญ่หรืออาณาจักรนี้มีมาก่อน พ.ศ.500 ในระยะเวลาประมาณ 300 ปีเศษ มีหลักฐานปรากฏเมืองลังกาสุกะในเขตแดนที่เป็นอำเภอยะรังและไทรบุรีหลักฐานปรากฏคือโบราณสถานยะรัง และโบราณสถานบูจังหรือบูจังวัลเลย์(ในเคดะห์ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน) ทั้งสองอาณาจักรต้องยุติอำนาจการปกครองลงด้วยการเข้ามามีอำนาจการปกครองของศรีวิชัยราว พ.ศ.1300 เศษ ศรีวิชัยมีอำนาจการปกครองครอบคลุมทั้งคาบสมุทรสยามลายู คือ ประมาณเขตพื้นที่เพชรบุรีลงไปตลอดคาบสมุทรสยามถึงแหลมมลายู เกาะชวา ตลอดถึงเกาะในประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน และมีอิทธิพลในการปกครองในดินแดนกัมพูชาในปัจจุบัน ราว พ.ศ.1500 เศษ อาณาจักรศรีวิชัยก็ยุติอำนาจลง ต่อมามีกลุ่มอำนาจใหม่เข้ามาปกครองตามหลักฐานปรากฏพระนามเจ้าเมืองว่าศรีธรรมาโศกราชเป็นเจ้าเมือง มีความเจริญรุ่งเรืองด้านต่างๆ ทั้งทางด้านศาสนา การศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง จนราว พ.ศ.1900 ก็รวมเข้าเป็นดินแดนเดียวกันกับพระยาอู่ทองซึ่งปกครองอยู่บริเวณเหนือเพชรบุรีขึ้นไป ด้วยความเจริญรุ่งเรืองที่ติดต่อกันมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ.500 ถึง พ.ศ.1900 ร่วม 1400 ปี ของ 4 เมืองหรือ 4 อาณาจักรในดินแดนไทยภาคใต้หรือไทยสยาม ดังกล่าว จึงทำให้ดินแดนนี้มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านต่างๆ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในความเข้มแข็งของไทยสยามภาคใต้ และกลายเป็นอารยธรรมแดนใต้ถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน เหลนสืบต่อมาจนปัจจุบันคำสำคัญ : อารยธรรม ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย ศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร)Downloads
Published
2013-09-06
How to Cite
ธรรมชาติ ส. (2013). อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร). Princess of Naradhiwas University Journal, 5(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53779
Issue
Section
Research Articles