ผลของการนวดกดจุดสะท้อนที่ฝ่าเท้าต่อความรู้สึกปวดและความรู้สึกทุกข์ทรมานจากความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบวัดก่อนและหลังการทดลองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความรู้สึกปวดและระดับความรู้สึกทุกข์ทรมานจากความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งก่อนและหลังการนวดทันที เปรียบเทียบความความแตกต่างระหว่างการนวดกดจุดสะท้อนที่ฝ่าเท้า กับการนวดฝ่าเท้าหลอก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอาการปวด และไม่อยู่ในระยะลุกลามตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 30 ราย ใช้สถิติบรรยายในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยข้อมูล
ส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการรักษา ข้อมูลเกี่ยวกับความปวดและการใช้ยาแก้ปวด โดยวิธีการแจกแจงความถี่และร้อยละเปรียบเทียบระดับคะแนนความรู้สึกปวด และความรู้สึกทุกข์ทรมานจากความปวดก่อนและหลังการนวดกดจุดสะท้อนที่ฝ่าเท้า และการนวดฝ่าเท้าหลอก หลังการนวดทันที ระหว่างกลุ่มการทดลองโดยใช้สถิติวิลค์คอกซัน (Wilcoxon match-pairs
signed-rank test) ผลการวิจัยพบว่า หลังการนวดทั้ง 2 แบบ ระดับความรู้สึกปวดและระดับความรู้สึกทุกข์ทรมานจากความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) จึงควรนำการนวดกดจุดสะท้อนที่ฝ่าเท้าและการนวดฝ่าเท้าหลอกมาเสริมเพื่อบรรเทา
ความรู้สึกปวดและความรู้สึกทุกข์ทรมานจากความปวดเนื่องจากใช้เวลาน้อยและมีความปลอดภัยคำสำคัญ : การนวดกดจุดสะท้อนที่ฝ่าเท้า ความรู้สึกปวด ความรู้สึกทุกข์ทรมาน ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
Downloads
Published
2014-01-29
How to Cite
ยอดแก้ว อ., เพชรพิเชฐเชียร ว., & จงเจริญ ว. (2014). ผลของการนวดกดจุดสะท้อนที่ฝ่าเท้าต่อความรู้สึกปวดและความรู้สึกทุกข์ทรมานจากความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53825
Issue
Section
Research Articles