การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบโดยวิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่น กรณีศึกษาโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป

Authors

  • ภาณุภัณฑ์ ภาระเวช
  • ระพีพันธ์ ปิตาคะโส
  • ปรุฬห์ มะยะเฉี่ยว

Abstract

บทความวิจัยนี้นำเสนอวิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสายการประกอบเย็บในโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีผลิตภัณฑ์ชนิดเดียว มีจำนวนสถานีงาน 19 สถานี ประสิทธิภาพ
สายการประกอบเท่ากับ 65.39 % และมีรูปแบบสายการผลิตแบบเส้นตรง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหาจำนวนสถานีงานน้อยที่สุด จึงจัดเป็นปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบแบบเส้นตรงประเภทที่ 1 โดยมีเงื่อนไขความสัมพันธ์ก่อนหลัง มีการ
พิจารณาให้แต่ละสถานีงานมีเวลารวมไม่เกินรอบเวลาการผลิตและสามารถมีเครื่องจักรได้ไม่เกิน 2 ประเภท ซึ่งวิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่น จะทำการสร้างโครโมโซมเริ่มต้นโดยการสุ่มจำนวนจริงแล้วปรับปรุงคำตอบโดยการกลายพันธ์ และ
ทำการผสมสายพันธุ์ จากนั้นทำการเลือกผลที่ดีกว่าเพื่อเป็นประชากรในรุ่นถัดไป ซึ่งได้เปรียบเทียบกับวิธีฮิวริสติกพื้นฐาน ได้แก่ วิธี Maximum task time, Kilbridge and Weter’s Method (KWM) และวิธี Ranked Positional Weights Method (RPW) 
ที่สามารถลดสถานีงานเหลือ 14, 15 และ 16 สถานี เพิ่มประสิทธิภาพเป็น 88.75 %, 82.83 % และ 77.66 % ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าวิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่นให้คำตอบที่ดีกว่าสายการผลิตปัจจุบันและวิธีฮิวริสติกทั้ง 3 วิธี โดยวิธีการ
ดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่น สามารถลดสถานีงานเหลือ 13 สถานี และเพิ่มประสิทธิภาพสายการประกอบเป็น 95.58 %คำสำคัญ : สมดุลสายการประกอบแบบเส้นตรงประเภทที่ 1  วิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่น

Downloads

Published

2014-06-11

How to Cite

ภาระเวช ภ., ปิตาคะโส ร., & มะยะเฉี่ยว ป. (2014). การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบโดยวิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่น กรณีศึกษาโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53848