การสกัดพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรตจากเชื้อ Alcaligenes eutrophus ด้วยสารสกัดเอนไซม์อย่างหยาบจากน้ำสับปะรด

Authors

  • ปิยาภรณ์ วังศิริกุล
  • เทวัญ หยู่หนู
  • นิษา ไพจิตร
  • กนกพร สังขรักษ์

Abstract

ผลของสับปะรดน้ำหนัก 6395.18 กรัม เมื่อนำมาคั้นแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางจะได้สารสกัดหยาบจากเอนไซม์ เมื่อศึกษากิจกรรมของเอนไซม์โบรมีเลน แอคตีวิตี้เฉพาะ และปริมาณโปรตีนในสารสกัดเอนไซม์อย่างหยาบจากน้ำสับปะรด
จะได้สารสกัดเอนไซม์อย่างหยาบที่มีกิจกรรมของเอนไซม์โบรมีเลน 10.76 ยูนิตต่อมิลลิลิตร มีแอคตีวิตี้เฉพาะ 0.094 ยูนิตต่อมิลลิกรัมโปรตีน และมีปริมาณโปรตีน 114.30 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และสภาวะที่เหมาะสมต่อกิจกรรมของสารสกัดหยาบคือ 
พีเอชเท่ากับ 7 และอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เมื่อนำสารสกัดเอนไซม์อย่างหยาบที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต (พีเอชเอ) จากจุลินทรีย์ Alcaligenes eutrophus พบว่า สภาวะที่เหมาะสมต่อการสกัดพีเอชเอ คือ การสกัด
ระหว่างน้ำหนักเซลล์จุลินทรีย์ 9.57 กรัมต่อลิตร ร่วมกับน้ำสับปะรด 3 มิลลิลิตร ภายใต้ระยะเวลาในการบ่ม 12 ชั่วโมง ซึ่งจะให้ผลผลิตพีเอชเอสูงสุด 7.28 กรัมต่อลิตร (74.93 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเซลล์แห้ง) พีเอชเอที่สกัดได้เมื่อนำมาศึกษาโครง
สร้างทางเคมีด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปคโตรสโคปี พบว่าเป็นพอลิเมอร์ชนิดพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต (พีเอชบี) โดยทำการเปรียบเทียบโครงสร้างกับพีเอชบีทางการค้าคำสำคัญ : Alcaligenes eutrophus พอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต เอนไซม์ น้ำสับปะรด

Downloads

Published

2014-06-11

How to Cite

วังศิริกุล ป., หยู่หนู เ., ไพจิตร น., & สังขรักษ์ ก. (2014). การสกัดพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรตจากเชื้อ Alcaligenes eutrophus ด้วยสารสกัดเอนไซม์อย่างหยาบจากน้ำสับปะรด. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53849