การทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่มีทวารเทียม

Authors

  • สมพร วรรณวงศ์
  • แสงอรุณ อิสระมาลัย
  • วันดี คหะวงศ์
  • โสมนัส นาคนวล

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมการสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการดูแลของผู้มีทวารเทียมและ/หรือผู้ดูแลหลักในกรณีไม่สามารถดูแลตนเองได้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัดมีทวารเทียม ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้กรอบแนวคิดความสามารถในการปฏิบัติการเพื่อดูแลตนเอง และการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ของ Orem เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล คู่มือ ภาพภาวะแทรกซ้อน ภาพการดูแลที่ถูกต้อง ภาพและตัวอย่างอุปกรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในโปรแกรมเป็นผู้ป่วยใหม่ที่ผ่าตัดทำทวารเทียมในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์จำนวน 30 ราย โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลก่อนใช้โปรแกรมเมื่อผู้ป่วยจำหน่ายจากโรงพยาบาลและมาตรวจตามแพทย์นัดครั้งที่ 1 จากนั้นจึงให้การพยาบาลตามโปรแกรมและประเมินผลเมื่อมาตรวจตามนัดครั้งที่ 2 เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการดูแลตนเองของผู้มีทวารเทียมหรือผู้ดูแลหลักในกรณีที่ผู้มีทวารเทียมไม่สามารถดูแลตนเองได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทีคู่ (paired t– test) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความสามารถในการดูแลเพิ่มขึ้น (x= 2.58, S.D. = 0.47 เป็น x= 3.45, S.D. = 0.43) เมื่อวิเคราะห์โดยใช้สถิติทีคู่พบว่า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.50, p =.000) และภาวะแทรกซ้อนลดลง โดยเฉพาะภาวะผิวหนังระคายเคืองลดลงจากร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 13.33 แสดงว่าโปรแกรมมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความสามารถในการดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและช่วยลดอุบัติการณ์เกิดภาวะแทรกซ้อนได้คำสำคัญ : ภาวะแทรกซ้อนของผู้มีทวารเทียม ความสามารถในการดูแล โปรแกรม

Downloads

Published

2014-09-17

How to Cite

วรรณวงศ์ ส., อิสระมาลัย แ., คหะวงศ์ ว., & นาคนวล โ. (2014). การทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่มีทวารเทียม. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53875