การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรตะไคร้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพและการออกแบบการทดลอง

Authors

  • ผจงจิต พิจิตบรรจง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรตะไคร้ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า  โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพและการออกแบบการทดลอง ซึ่งจากการสำรวจพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ในกลุ่มวัยทำงานที่มีช่วงอายุ 25-49 ปี ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรในท้องถิ่น พบว่าร้อยละ 42 รับประทานผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรนานๆ ครั้ง นอกจากชาตะไคร้แล้ว ชาใบเตยเป็นที่นิยมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47 รองลงมาเป็นชาขิง คิดเป็นร้อยละ 39 ทำการพัฒนาชาสมุนไพรตะไคร้โดยสร้างบ้านคุณภาพเพื่อหาข้อกำหนดทางเทคนิค ความสัมพันธ์ระหว่างข้อกำหนดทางเทคนิค และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความต้องการของลูกค้ากับข้อกำหนดทางเทคนิค          ให้คะแนนค่าความสัมพันธ์และจัดลำดับ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดทางเทคนิคตามลำดับความสำคัญ จากนั้นทำการหาสูตรส่วนประกอบที่เหมาะสมด้วยวิธีการทดลองแบบผสม ประกอบด้วยส่วนผสมของ ตะไคร้:ใบเตยหอม:ขิง พบว่ากลุ่มลูกค้าให้การยอมรับ สูตรที่อัตราส่วนร้อยละ 60.6:39.4:0 และหาสภาวะที่เหมาะสมด้านอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการอบด้วยวิธีการทดลองแบบแฟคทอเรียลที่ทําการสุ่มโดยสมบูรณ์ พบว่ากลุ่มลูกค้าให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้อุณหภูมิและเวลาในการอบที่   60 องศาเซลเซียสและ 15 นาที และวิเคราะห์ผลหลังการพัฒนาโดยใช้วิธีทดสอบทางประสาทสัมผัส พบว่าคะแนนโดยเฉลี่ยของชาสมุนไพรตะไคร้ ด้านกลิ่น สี รสชาติ และการยอมรับโดยรวม คือ 7.15, 6.92, 7.80 และ 7.56 ตามลำดับ การยอมรับหลังการพัฒนาร้อยละ 84.0 เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.5 การตัดสินใจซื้อร้อยละ 76.0 เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.3

คำสำคัญ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์  ชาสมุนไพรตะไคร้ การกระจายหน้าที่ การออกแบบการทดลอง

Downloads

Published

2015-02-03

How to Cite

พิจิตบรรจง ผ. (2015). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรตะไคร้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพและการออกแบบการทดลอง. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53892

Issue

Section

บทความวิจัย