การวิเคราะห์และการจำลองรูปแบบโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาการวิเคราะห์ และการจำลองรูปแบบโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดในประเทศไทย ใช้ถ่านหินนำเข้าจากตลาดแปซิฟิก ประเทศอินโดนีเซีย เป็นแหล่งถ่านหิน ที่มีศักยภาพในด้านคุณภาพถ่านหิน ชนิด ซับบิทูมินัส และบิทูมินัส ด้วยปัจจัยตำแหน่งที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญของการใช้ถ่านหินนำเข้า ผู้วิจัยจึงได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดตั้งอยู่ชายฝั่งด้านอ่าวไทย ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมีความคุ้มค่าในการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์
ผลการวิเคราะห์แบบจำลองโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด พบว่าโรงไฟฟ้าจะมีกำลังการผลิต หน่วยละ 800-900 MW ตั้งอยู่ริมทะเล และการใช้น้ำทะเลเพื่อการหล่อเย็นมีความคุ้มค่าทาง เศรษศาสตร์ ใช้ระบบการขนถ่าย การลำเลียงและการจัดเก็บถ่านหิน ด้วยระบบปิด มีระบบกำจัดซัลเฟอร์ด้วยระบบเปียกด้วยหินปูน หรือการกำจัดด้วยน้ำทะเล ส่วนเทคโนโลยีการเผาไหม้ได้ศึกษาเชิงเปรียบเทียบ 3 รูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย Ultra Super Critical PC, Super Critical PC และ Sub Critical PC จากผลการจำลองด้านเทคนิค และด้านเศรษศาสตร์พบว่า เทคโนโลยี Ultra Super Critical PC ให้ผลของค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (Levelized Unit Price) 1.9458 บาท ถูกที่สุด รองลงมา 2.1166 บาท และ 2.2294 บาท ตามลำดับ
คำสำคัญ : โรงไฟฟ้าถ่านหิน, เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด, แบบจำลองโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด, เทอร์มอลโคล, การกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์, การกำจัดไนโตรเจนออกไซด์