ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ดูแลเด็ก ปัจจัยด้านเด็กป่วย กับการรับรู้การได้รับการดูแลของผู้ดูแลเด็ก และการรับรู้การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์

Authors

  • ศิราคริน พิชัยสงคราม
  • นุชสรา ทรัพย์อินทร์
  • ณัฎฐินี ชัวชมเกตุ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ดูแลเด็ก ปัจจัยด้านเด็กป่วย กับการรับรู้การได้รับการดูแลของผู้ดูแลเด็ก และการรับรู้การปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 80 คน และผู้ดูแลเด็กป่วย จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยด้านผู้ดูแลเด็ก และ ด้านเด็กป่วย แบบสอบถามการรับรู้การได้รับการดูแล และแบบสอบถามการรับรู้การปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .95 และมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และไคสแควร์

ผลการวิจัยมีดังนี้ 1)ผู้ดูแลเด็กที่เป็นมารดา มีสถานภาพสมรสคู่ ไม่ได้รับราชการ และมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีการรับรู้การได้รับการดูแลในระดับสูงมากที่สุด (ร้อยละ 60, 51.64, 51.64 และ 47.54) ตามลำดับ เด็กที่เข้ารับการรักษา 1-5 ครั้ง เป็นโรคติดเชื้อ และมีการเจ็บป่วยรุนแรง ผู้ดูแลรับรู้การได้รับการดูแลในระดับสูงมากที่สุด (ร้อยละ 53.28, 48.36 และ 36.89) ตามลำดับ 2)นักศึกษาพยาบาลมีการรับรู้การปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ในผู้ดูแลเด็กที่ไม่ได้รับราชการ มีสถานภาพสมรสคู่ และมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีในระดับสูงมากที่สุด (ร้อยละ 66.25, 63.75 และ 61.25) ตามลำดับ และมีการรับรู้การปฏิบัติการพยาบาลในเด็กที่เข้ารับการรักษา 1-5 ครั้ง เป็นโรคติดเชื้อ และมีการเจ็บป่วยรุนแรงในระดับสูงมากที่สุด (ร้อยละ 63.75, 62.50 และ 46.25) ตามลำดับ     3)ปัจจัยด้านผู้ดูแลเด็ก และปัจจัยด้านเด็กป่วย ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การได้รับการดูแล และการรับรู้การปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางของนักศึกษาพยาบาล จากผลการศึกษาอาจารย์นิเทศสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดการดูแล โดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : การรับรู้การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง  ผู้ดูแลเด็ก  นักศึกษาพยาบาล

Downloads

Published

2015-05-24

How to Cite

พิชัยสงคราม ศ., ทรัพย์อินทร์ น., & ชัวชมเกตุ ณ. (2015). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ดูแลเด็ก ปัจจัยด้านเด็กป่วย กับการรับรู้การได้รับการดูแลของผู้ดูแลเด็ก และการรับรู้การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53909