การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: การทบทวนวรรณกรรม

Authors

  • ประณีต ส่งวัฒนา
  • หทัยรัตน์ แสงจันทร์

Abstract

สถานการณ์ความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลกระทบต่อการช่วยเหลือและส่งต่อผู้บาดเจ็บ การบริการการแพทย์ฉุกเฉินจึงต้องปรับให้เหมาะสมกับบริบท การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การทบทวนวรรณกรรมได้สืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ ได้แก่ CINAHL, Pubmed, Scholar Google และ K4DS (knowledge for Deep South) และสืบค้นด้วยมือ โดยใช้คำสำคัญ คือ สถานการณ์ความไม่สงบ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ได้รับบาดเจ็บ การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (emergency medical service) ผลการสืบค้นได้เอกสารจำนวน 27 เรื่อง ได้แก่ บทความวิจัย 11 เรื่อง รายงานวิจัย 4 เรื่อง สารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ 9 เรื่อง และบทความวิชาการ 3 เรื่อง ผู้วิจัยนำข้อมูลความรู้และผลการศึกษาทั้งหมดมาวิเคราะห์จัดหมวดหมู่เนื้อหาและสรุปองค์ความรู้โดยนักวิจัยสองท่านให้ความเห็นสอดคล้องกัน

ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสรุปสาระสำคัญได้ 4 ประเด็นคือ 1) สถานการณ์ความไม่สงบมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคลากรและระบบบริการสุขภาพ 2) การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุและการส่งต่อต้องเน้นความรวดเร็วและคำนึงถึงความปลอดภัย 3) ระบบรองรับผู้บาดเจ็บฉุกเฉินในโรงพยาบาลที่ปรับตามสถานการณ์ ได้แก่ การเยียวยาจิตใจและดูแล    ผู้บาดเจ็บในระยะรักษาในโรงพยาบาล และการดูแลในระยะฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง 4) การพัฒนาเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บฉุกเฉินในพื้นที่ได้ทันเวลา ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการวางแผนพัฒนาการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้มาตรฐานภายใต้บริบทของพื้นที่ที่แตกต่าง

คำสำคัญ :  การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน  สถานการณ์ความไม่สงบ  สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Downloads

Published

2015-05-24

How to Cite

ส่งวัฒนา ป., & แสงจันทร์ ห. (2015). การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: การทบทวนวรรณกรรม. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53910