ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้ ความเชื่อและพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดยะลา

Authors

  • นิวัฒน์ วงษ์หลี
  • กรรณิกา เรืองเดช
  • บุญสิทธิ์ ไชยชนะ
  • ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้Kมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อความรู้ ความเชื่อและพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนหญิง โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา เป็นกลุ่มทดลองและโรงเรียนดำรงวิทยา เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มละ 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ  แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน  แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคกระดูกพรุนและแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุน วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง เป็นสถิตินอนพาราเมตริก ได้แก่ Wilcoxon Rank Sum test, Mann-Whitney test และ Kruskal-Wallis test และสถิติพาราเมตริก ได้แก่ Independent t-test, One way ANCOVA และ Two-way repeated measure ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน ความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคกระดูกพรุน และพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุน  สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสุขศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : โปรแกรมสุขศึกษา ความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุน

Downloads

Published

2015-05-24

How to Cite

วงษ์หลี น., เรืองเดช ก., ไชยชนะ บ., & ชาวสวนศรีเจริญ ไ. (2015). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้ ความเชื่อและพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดยะลา. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53911