ผลการเสริมเยื่อในลำต้นสาคูในอาหารที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองไทยในระยะเล็ก
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองที่เสริมเยื่อในลำต้นสาคู การทดลองใช้ไก่พื้นเมือง อายุ 1 สัปดาห์ คละเพศ น้ำหนักเฉลี่ย (87.50 ? 5.81 กรัม/ตัว) จำนวน 120 ตัว วางแผนทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design, CRD) แบ่งการทดลองเป็น 4 กลุ่ม ๆ 3 ซ้ำ ๆ ละ 10 ตัว ไก่ทดลองได้รับอาหารที่มีการเสริมเยื่อในลำต้นสาคู 4 ระดับ คือ 0, 5, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ ได้รับอาหารและน้ำแบบเต็มที่ตลอดเวลา ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ โดยศึกษาสมรรถภาพการผลิต ได้แก่ ปริมาณอาหารที่กิน น้ำหนักตัวเพิ่มและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร ผลการทดลอง พบว่า ไก่ทุกกลุ่มมีปริมาณอาหารที่กินไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ส่วนน้ำหนักตัวเพิ่มไก่พื้นเมืองที่ได้รับเยื่อในลำต้นสาคูที่ระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ ดีที่สุด (P<0.05) ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ในช่วงระยะไก่เล็กสามารถเสริมเยื่อในลำต้นสาคูในสูตรอาหารสำเร็จรูปได้ในระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีผลเสียต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง (P>0.05)
คำสำคัญ : เยื่อในลำต้นสาคู ไก่พื้นเมือง สมรรถภาพการผลิต