การพัฒนาในรอบปีและการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรต ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในใบของมังคุดและลองกองที่จังหวัดนราธิวาส
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฟีโนโลยีในรอบปีกับปริมาณคาร์โบไฮเดรต ธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในใบไม้ผล 2 ชนิด คือ มังคุด และลองกอง ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2550-กันยายน 2551 โดยเก็บข้อมูลสภาพภูมิอากาศ การเจริญเติบโตในรอบปี และวิเคราะห์หาปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และปริมาณคาร์โบไฮเดรตในใบ พบว่า พื้นที่ทดลองมีปริมาณน้ำฝนสะสมเท่ากับ 2,463.9 มิลลิเมตร การคายระเหยน้ำสะสมเท่ากับ 1,780 มิลลิเมตร และอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 26.7 องศาเซลเซียส โดยฟีโนโลยีในรอบปี 2551 พบว่า มังคุดมีการแตกใบอ่อน 1 ครั้งช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ออกดอกช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม ส่วนลองกองมีการแตกใบอ่อน 2 ครั้ง คือ ตุลาคม-พฤศจิกายน 2550 และกันยายน-ตุลาคม 2551 ออกดอกในช่วงมีนาคม-เมษายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณกลางเดือนมิถุนายน เมื่อศึกษาปริมาณคาร์โบไฮเดรต ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส พบว่า มังคุดมีปริมาณไนโตรเจนในใบค่อนข้างคงที่ตลอดระยะการเจริญเติบโต ขณะที่ลองกองมีปริมาณไนโตรเจนในใบเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในระยะแรกแล้วลดลงต่ำสุดช่วงเดือนมกราคม ก่อนจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในระยะแตกตาดอกเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับปริมาณคาร์โบไฮเดรตและ อัตราส่วนของคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจนที่พบในไม้ผลทั้ง 2 ชนิด มีค่าเพิ่มขึ้นในระยะแรกจนกระทั่งมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงสุดในช่วงการพัฒนาผลของมังคุด และระยะการแตกตาดอกของลองกอง ก่อนจะลดลงในช่วงปลายฤดูกาล ส่วนปริมาณฟอสฟอรัสพบว่า ทุกช่วงของการเจริญเติบโตจะมีการสะสมฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันไปตลอดฤดูกาลคำสำคัญ : การพัฒนาในรอบปี ปริมาณคาร์โบไฮเดรต ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ใบของมังคุดและลองกอง
Downloads
Published
2013-01-21
How to Cite
จิระแพทย์ จ. (2013). การพัฒนาในรอบปีและการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรต ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในใบของมังคุดและลองกองที่จังหวัดนราธิวาส. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53925
Issue
Section
Research Articles